AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

menu

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

แบ่งปัน

Amnesty Seed Fund 2022 เงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการสิทธิมนุษยชน

เมื่อต้นปี 2022 แอมเนสตี้ได้มีโครงการ “Amnesty Seed Fund 2022 เงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการสิทธิมนุษยชน” ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2018 โดยเป็นโครงการพิเศษสำหรับสมาชิกแอมเนสตี้ ประเทศไทย เท่านั้น ที่สามารถรับทุนสนับสนุนตั้งต้นในการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยไม่จำกัดรูปแบบของกิจกรรม วันนี้เราได้รวบรวมตัวอย่างโครงการมาให้ดูว่าตลอดปี 2022 ที่ผ่านมานั้น มีสมาชิกแอมเนสตี้กลุ่มใด ได้จัดโครงการดี ๆ กิจกรรมสนุก ๆ เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนไปแล้วบ้าง เผื่อจะเป็นไอเดียสำหรับการริเริ่มโครงการของท่านเอง ซึ่งตอนนี้เหลือทุนไม่มากแล้ว โดยเราได้รวบรวม 5 โครงการน่าสนใจที่ได้รับทุนในปีนี้จากแอมเนสตี้มาเล่าให้ทุกคนฟัง

โครงการแรก คือ โครงการความเท่าเทียมทางเพศ สวัสดิการผ้าอนามัยฟรี จัดขึ้นที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลและความเท่าเทียมทางเพศโดยมีผู้เข้าร่วมตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการบรรยายหัวข้อเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและสิทธิเหนือเนื้อตัวร่างกาย ประเด็นสวัสดิการผ้าอนามัยฟรีในโรงเรียน การใช้งานและประเภทของผ้าอนามัยแบบต่าง ๆ วิธีการคุมกำเนิดและอนามัยเจริญพันธ์ุ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิร่างกายของตัวเองด้วยกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน และได้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนควบคู่กันไป

 

โครงการที่ 2 คือ Road to Human Rights เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชน จัดโดยกลุ่ม JUST SAY IT ที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนในการแสดงออกถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการแสดงออกทางการเมืองและยังเป็นกิจกรรมที่ได้สะท้อนปัญหาและสร้างแรงกดดันต่อภาครัฐให้ตระหนักถึงความต้องการของประชาชน โดยภายในงานมีทั้งดนตรีสด วงเสวนา ในหัวข้อ “ สิทธิที่หล่นหาย THE LOST HUMAN RIGH ” และปิดท้ายด้วยการ กิจกรรมสัญลักษณ์ “เสียงของทุกคน” สะท้อนผ่านแสงเทียน

โครงการที่สาม นิทรรศการศิลปะ อุดรธานี จัดทำโดย กลุ่มดึงดิน ที่จังหวัดอุดรธานี หรือเรียกว่า “นิทรรศการดึงดิน” วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือ เพื่อสร้างความเข้าใจและการเรียนรู้เกี่ยวกับการเมืองและการต่อสู้ทางการเมืองของขบวนการต่าง ๆ ของผู้ถูกกดขี่ผ่านงานศิลป์ และสร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในรูปแบบการศึกษาร่วมกัน ภายในนิทรรศการมีรูปภาพที่สื่อถึงประชาชนที่ถูกกดขี่ จากชนชั้นสูง หรือผู้ที่มีอำนาจ โดยตัวนิทรรศการได้บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ในประวัติศาสตร์การเมืองในไทยและการกดขี่ในสังคมรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางเพศ ทางการศึกษา และความเหลื่อมล้ำทางสัมคมอื่น ๆ นอกจากนิทรรศการแล้ว ยังมีภาพยนต์และดนตรีอีกด้วย

โครงการที่ 4 คือ ค่ายกิจกรรมฟื้นฟูจิตใจผูกมิตรนักปกป้องสิทธิอุดร จัดทำโดย อุดรพอกันที ณ จังหวัด อุดรธานีระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2565 โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจและเชื่อมมิตรภาพของนักปกป้องสิทธิในจังหวัดอุดรธานี เนื่องจากที่ผ่านมีการถูกคุกคามนักกิจกรรมที่ออกมาใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกภายในพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและสภาพร่างกายของนักกิจกรรม ทางกลุ่มอุดรพอกันทีจึงจัดกกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อฟื้นฟูเยียวยาจิตใจ เสริมศักยภาพของแต่ละบุคคล และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน กิจกรรมในค่ายมีทั้ง การทำน้ำปรุงดอกไม้สำหรับคลายความเครียด การแลกเปลี่ยนความประทับใจ และการสำรวจสภาพจิตใจของตัวเองในช่วงเวลาที่ผ่านมา นับเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะภายในจิตใจของนักเคลื่อนไหวทางสังคมในจังหวัดอุดรธานีได้เป็นอย่างดี 

อีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจคือ คือ โครงการค่าย “วิชาสุดท้าย ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 – 6 มีนาคม 2565 จังหวัดขอนแก่น 

โครงการนี้จัดขึ้นมาเพื่อสื่อสารประเด็นทางสังคมเรื่องผลประโยชน์และผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่ ห้วยเสือ ห้วยโจด และ โคกหินขาว จากโครงการพัฒนาของรัฐ จากอดีตจนถึงปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต พร้อมกับเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและที่สำคัญคือเพื่อเสริมองค์ความรู้เรื่องหลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนให้กับผู้เข้าร่วม

นอกจากการลงพื้นที่แล้ว ยังมีการฟังบรรยายเรื่องโครงการพัฒนาในพื้นที่ลุ่มน้ำ​ โขง เลย ชี มูน ที่สะท้อนถึงปัญหาด้านข้อกฎหมายและการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความรู้สึกร่วมกับชุมชน และความตระหนักถึงเรื่องสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมในโครงการการพัฒนาของรัฐมากยิ่งขึ้น

สำหรับใครที่สนใจทำโครงการที่น่าสนใจแบบนี้ ปีนี้เหลือไม่มากแล้ว สำหรับทุน Seed fund จากทางแอมเนสตี้ หากสนใจที่จะทำโครงการที่ส่งเสริม หรือประเด็นที่เกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชนสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่