Human Rights Education
สิทธิมนุษยชนศึกษา (Human Rights Education: HRE) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องระยะยาวในการสร้างพื้นฐานเพื่อสิทธิในสังคม เป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของแอมเนสตี้ โดยให้คำจำกัดความการศึกษาและการฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนดังนี้ (ตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยการศึกษาและฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชน) การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนสามารถนิยามได้ว่า เป็นความพยายามในการเรียนรู้ การศึกษา การฝึกอบรม หรือข้อมูลใด ๆ ที่มุ่งสร้างวัฒนธรรมสากลด้านสิทธิมนุษยชน
การศึกษาสิทธิมนุษยชน
ครอบคลุมเรื่อง
ความรู้และทักษะ
เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและกลไกของสิทธิมนุษยชน ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมในการนำเอาไปใช้ในชีวิตจริง
ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรม
พัฒนาค่านิยม เสริมสร้างทัศนคติและพฤติกรรมที่สนับสนุนสิทธิมนุษยชน
การปฏิบัติจริง
การได้มาซึ่งทักษะการใช้สิทธิมนุษยชนในทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และการลงมือทำเพื่อปกป้องและสนับสนุนสิทธิมนุษยชน
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีฝ่ายที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาโดยเฉพาะ เพื่อศึกษาข้อมูลและผลิต เนื้อหาและเครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงออกแบบกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาในระดับ ต่างๆ มีการสร้างสื่อการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนทั้งออนไลน์และออฟไลน์ การทำกิจกรรมกับครูและอาจารย์ ผู้เป็นพลังสำคัญของการส่งเสริมการศึกษา การสร้างชมรมหรือกลุ่มกิจกรรมนอกห้องเรียน ในสถาน ศึกษา อย่างเช่น โครงการ Human Rights Friendly School เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและความสนใจ รวมถึงเพิ่มพูนแหล่งข้อมูลด้าน สิทธิมนุษยชนศึกษาให้มากขึ้น และที่สำคัญยังมีการ ทำงาน เชิงนโยบาย เพื่อผลักดันให้รัฐบาลต่าง ๆ นำสิทธิมนุษยชนศึกษาเข้าไปบรรจุ ไว้ในหลักสูตร การเรียนการสอนในระดับประเทศอีกด้วย
ซึ่งกิจกรรมในกระบวนการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษานี้จะมุ่งเน้น
ในปี 2564 ที่ผ่านมาเครือข่ายการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษาทั่วโลกกว่า 167 โครงการ ผู้คนในกว่า 212 ประเทศ และเขตการปกครอง นับเป็นจำนวนกว่า 2.07 ล้านคนได้รับความรู้และสามารถลงมือปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดย 90% เป็นคนหนุ่มสาว วิธีการศึกษาที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลใช้เป็นแบบมีส่วนร่วม เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และเชื่อมโยงการเสริมอำนาจในการแสดงความคิดเห็นและดำเนินการเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน เราดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ ไม่เป็นทางการ ออนไลน์ ออฟไลน์ และการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้เทคโนโลยีการศึกษา (EdTech)
สำหรับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในปี พ.ศ. 2539 เราได้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งสิทธิมนุษยชน ผ่านการสนับสนุนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ การบรรยายในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การเยี่ยมห้องเรียนทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย การฉายภาพยนตร์ และสารคดี การจัดสัมมนา วงคุย นิทรรศการ รวมถึงผลิตสื่อและอุปกรณ์สำหรับสิทธิมนุษยชนศึกษาโดยเน้นไปที่นักเรียนนักศึกษาตั้งแต่มัธยมต้นไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ปัจจุบัน มีสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่น ๆ ให้ความร่วมมือแล้วมากกว่า 40 แห่ง โดยหลายสถาบันมีการรวมกลุ่ม “คลับแอมเนสตี้” ซึ่งกลายเป็นแหล่งรวมคนรุ่นใหม่ที่สนใจสิทธิมนุษยชนมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ร่วมกัน