AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

menu

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

แบ่งปัน

สิทธิมนุษยชนศึกษาคืออะไร?

ถามตอบเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนศึกษา

1. สิทธิมนุษยชนศึกษาคืออะไร

สิทธิมนุษยชนศึกษาคือขั้นตอนที่ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด หรืออายุเท่าไหร่ก็ตาม สามารถที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของตนเอง สิทธิของผู้อื่น รวมไปถึงวิธีการเรียกร้องสิทธิเหล่านั้น สิทธิมนุษยชนศึกษานั้นสามารถทำให้ผู้คนพัฒนาทักษะและทัศนคติเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ศักดิ์ศรี และความเคารพ ภายในชุมชน สังคมของตนเอง หรือแม้กระทั่งทั่วโลก 

2. สิทธิมนุษยชนศึกษาที่แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลถ่ายทอด มีอะไรบ้าง 

พวกเราทำงานร่วมกันกับผู้คนในชุมชน โรงเรียน และมหาวิทยาลัย รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะสร้างความตระหนักต่อสิทธิมนุษยชนของตนเอง เพิ่มเติมความรู้และพัฒนาทักษะ ให้ความสำคัญและเปลี่ยนทัศนคติในการส่งเสริมสิทธิมุษยชนในชีวิตตนเองและที่ทำงาน

3. ทำไมต้องถ่ายทอดสิทธิมนุษยชนศึกษา

พวกเราเชื่อว่าสิทธิมนุษยชนศึกษาคือพื้นฐานในการบอกกล่าวถึงต้นเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน การสร้างสภาพแวดล้อมด้วยการคิดวิเคราะห์นั้น จะทำให้ผู้คนมีพื้นที่ที่จะสะท้อนสิ่งที่ตัวเองให้ค่า และทัศคติของตนเอง จากนั้นพฤติกรรมของพวกเขาจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง 

การทำแบบนี้จะเป็นการหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติ ส่งเสริมความเท่าเทียม และส่งเสริมให้ผู้คนมีส่วนร่วมในขั้นตอนที่ต้องมีการตัดสินใจ 

4. การให้ความรู้ในเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ต้องทำรึเปล่า 

ถูกต้อง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรู้ เข้าถึง และได้รับข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และอิสระพื้นฐาน และควรมีสิทธิ์ที่เข้าถึงสิทธิมนุษยชนศึกษา และการอบรม 

รัฐบาลมีหน้าที่ในการทำให้ประชาชนสามารถที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของตนเอง สิ่งนี้ได้รับการยืนยันจากหลากหลายตราสารทั้งในระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค และระดับชาติ

5. สิทธิมนุษยชนศึกษาสร้างความแตกต่างอะไรบ้าง

สิทธิมนุษยชนศึกษาทำให้ผู้คนสามารถเรียกร้องสิทธิ์ของตนเองได้ 

มันเป็นการรับรองว่าบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจนั้นรู้ถึงความรับผิดชอบของตนเอง 

อีกทั้งยังสร้างความแข็งแกร่งในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนโดยการเชื่อมต่อผู้คนโดยอิงจากสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญ และให้อำนาจพวกเขาในการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในชุมชนของตัวเอง สังคมของตัวเอง และทั่วโลก

6. มีอายุขั้นต่ำในการเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหรือไม่

ไม่มี ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรู้และเรียกร้องสิทธิมนุษยชนของตนเองได้ในทุกช่วงอายุ 

พวกเราเชื่อว่าผู้คนในทุกช่วงอายุมีความเห็นที่มีความหมาย และต่อเนื่องในการทำให้มั่นใจว่าจะสามารถมีความสุขกับสิทธิมนุษยชนของตนเองได้อย่างเต็มที่ เริ่มจากในชุมชนของตนเอง และต่อเนื่องไปถึงระดับชาติ เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่ารัฐบาลจะทำตามหน้าที่ตนเอง รวมไปถึงโอกาสในการเชื่อมต่อกับผู้คนทั่วโลกเพื่อสร้างสังคมที่เคารพสิทธิของกันและกันทั่วโลก 

7.ทุกคนสามารถเป็นผู้ให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนได้ไหม 

ได้ ทุกคนสามารถที่จะฝึกฝนและเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 

ผู้ให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนจะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้วิธีการอำนวยความสะดวก และการมีส่วนร่วมในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ที่จะสอนถึงเรื่องของเสรีภาพในการแสดงออก และการมีวิจารณญาณ 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล นั้นใช้ทั้งหลักการมีส่วนร่วม และหลักประชาธิปไตยในการสอน ซึ่งเคารพสิทธิของทั้งผู้สอน และผู้เรียน เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าขั้นตอนของสิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นขั้นตอนที่เสริมสร้างศักยภาพ พวกเราจ้างบุคคลแบบทวีคูณผู้สอนและแบบบุคคลต่อบุคคลในการเข้าถึง เพื่อให้ผู้สอนนั้นสามารถที่จะมีทักษะที่จะสามารถไปสอนคนอื่นได้ต่อ 

“ฉันมองตัวเองว่าเป็นผู้ให้ความรู้ จากเวิร์คช็อปที่ฉันจัดทำขึ้นมา ฉันพยายามวางรากฐานที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ฉันคือปัจจุบันที่ต้องการจะเปลี่ยนอนาคต ถึงแม้ฉันจะไม่มีโอกาสได้เห็นการเปลี่ยนแปลงนั้น แต่ฉันเชื่อว่าคนรุ่นต่อไปจะได้เห็นมัน” กล่าวโดย โยชิ การ์เซีย นักเคลื่อนไหวเยาวชนชาวซัลวาดอร์ 

 8. คุณคิดว่าสิทธิมนุษยชนศึกษามีประโยชน์ไหม ในขณะที่ผู้คนกำลังขาดแคลนสิ่งของพื้นฐานต่างๆ เช่น อาหาร และน้ำดื่ม

มี สิทธิมนุษยชนศึกษานั้นทำให้ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนษยชนได้รับการคำนึงถึงจากบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ กลุ่มธุรกิจ และรัฐบาล 

สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลอย่างยั่งยืนในระยะยาว และหยุดวงจรที่ต้องพึ่งพาที่สามารถเกิดขึ้นได้เวลาที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตัวอย่างเช่น ความล้มเหลวในการจัดหาอาหารและน้ำดื่มนั้นไม่ถูกมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

9. พวกคุณได้รับเงินทุนจากไหน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับเงินทุนจากผู้สนับสนุนรายบุคคล ทั้งบุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินเป็นครั้งคราว หรือ บุคลลที่จ่ายเงินค่าสมัครสมาชิก 

นอกจากนี้ สิทธิมนุษยชนศึกษายังได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ที่ต้องผ่านขั้นตอนที่เข้มงวดอย่างยิ่งก่อนได้รับการอนุมัติ เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าความเป็นอิสระ และความเป็นกลางจะยังคงอยู่ในทุก ๆ ส่วนในการทำงานของเรา

10. ฉันสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างไร

พวกเราเชื่อว่าความรู้คือพลัง และคุณมีศักยภาพที่จะป้องกัน และคัดค้านการละเมิดสิทธิของคุณหรือผู้อื่นได้ 

ติดต่อแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลท้องถิ่นของคุณเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโอกาสในสิทธิมนุษยชนศึกษาได้ที่ amnesty.hre@amnesty.or.th

ทำไมถึงต้องสอนสิทธิมนุษยชน 

เด็ก ๆ และเยาวชนต้องเจอกับปัญหาสิทธิมนุษยชนในทุก ๆ วัน พวกเขาเห็นแรงงานข้ามชาติถูกพัดมาชายฝั่งทะเลตามโทรทัศน์ ติดตามข่าวสารการก่อการร้ายในโซเชียลมีเดีย และประสบกับการกลั่นแกล้ง การเหยียด และความไม่เป็นธรรมในรูปแบบอื่น 

เมื่อมีโอกาส หลายคนก็มีความกระตือรือร้นที่จะต่อสู้กับประเด็นทางศีลธรรมที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นสงคราม การทรมาน ความยากไร้ ศาสนา การลี้ภัย สิทธิสตรี และเสรีภาพในการแสดงออก 

การทำความเข้าใจกับสิทธิมนุษยชนนั้นไม่ใช่คอนเซปท์ที่เป็นนามธรรม มันช่วยให้เยาวชนเข้าใจโลกแห่งความจริง ซึ่งก็เป็นโลกของพวกเขา ห้องเรียนเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบที่จะทำให้ความเข้าใจนั้นเกิดขึ้น 

เป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้วที่ สิทธิมนุษยชนศึกษา แอมเนสตี้ สหราชอาณาจักรได้มีนักเรียนหลายหมื่นคนจากสหราชอาณาจักร แหล่งข้อมูลของเราได้ปูทางให้การอภิปรายอนิเมชั่นในห้องเรียน ทำไมสิทธิมนุษยชนถึงมีความสำคัญกับพวกเราทั้งหมด และการปกป้องสิทธิเหล่านั้นมีความหมายอย่างไรกับเรา 

งานวิจัยได้มีการนำเสนอว่าสิทธิมนุษยชนศึกษาสามารถทำให้โรงเรียนเป็นที่ปลอดภัยขึ้นได้ ลดจำนวนเหตุการณ์การกลั่นแกล้งและทำให้เหล่านักเรียนตระหนักมากขึ้นถึงสังคมของพวกเขา คุณครูได้แจ้งว่าทัศนคติและความประพฤติของนักเรียนมีการพัฒนาขึ้นหลักจากคาบเรียนที่สร้างมาอ้างอิงมาจากแหล่งข้อมูลของแอมเนสตี้ ในระยะยาว สิ่งที่จะการันตีถึงสังคมที่เคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนก็คือ การเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้น เป็นกลุ่มคนที่รู้ถึงสิทธิของตัวเองและสามารถปกป้องสิทธิเหล่านั้นได้ 

“คุณค่าความเป็นมนุษย์คือสิ่งที่ทำให้คนมีค่าเท่ากัน ไม่ว่าเราจะเกิดที่ไหน มีสีผิวอย่างไร นับถือศาสนาอะไร ไม่ว่าเราจะรวยหรือจน สิทธิมนุษยชนคือสิ่งที่ทำให้เราไม่ต่างกัน”

สิทธิมนุษยชนศึกษา (Human Rights Education) เป็นงานหลักอย่างหนึ่งที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลให้ความสำคัญ เราทำงานเพื่อส่งเสริมความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนโดยองค์รวม และปลูกฝังความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และทักษะที่สำคัญในการเคารพและปกป้องสิทธิเหล่านั้น

สำหรับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สิทธิมนุษยชนศึกษามีความสำคัญในการสร้างสริมความตื่นรู้ด้านสิทธิมนุษยชน (human rights awareness) และเพื่อสร้างเสริมศักยภาพ (Empower) มนุษย์ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้คนได้เข้าใจว่าอะไรคือสิทธิมนุษยชน แต่ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในส่วนที่จกระทบกับชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเขา รวมถึงการทำการใดใดเพื่อส่งเสริม ปกป้องสิทธิมนุษยชนในแง่ปัจเจกและกลุ่ม

ในหลายประเทศทั่วโลก สิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียม

สิทธิมนุษยชนศึกษาคืออะไร?

สิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิและคุณค่าความเป็นมนุษย์ของตนเองและผู้อื่นภายใต้กรอบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม เรียนรู้ทักษะใหม่และสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างต่อเนื่องโดยการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน หรือผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยมุ่งหวังให้ผู้ร่วมกระบวนการได้สร้างความเข้าใจต่อประเด็นทางสังคมโดยใช้มุมมองด้านสิทธิมนุษยชน และเพิ่มพูนทักษะเพื่อสร้างความชัดเจนในเรื่องสิทธิของตนเอง และการสื่อสาร เผยแพร่กระบวนการคิดนี้กับผู้อื่น

กระบวนการการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมุ่งตอบสนองจุดมุ่งหมายพื้นฐาน 5 ประการคือ

  1. เพื่อตั้งคำถามและระบุต่อต้นเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  2. เพื่อหลีกเลี่ยง ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  3. เพื่อยุติการเลือกปฏิบัติ
  4. เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม
  5. เพื่อสร้างเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการการตัดสินใจอย่างเป็นประชาธิปไตย

ดังนั้นกระบวนการและกิจกรรมสิทธิมนุยชนศึกษาจึงมักมุ่งเน้น

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและสิทธิมนุษยชนศึกษา

การทำงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในทุกๆด้านตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration ofHuman Rights- UDHR) กติการะหว่างประเทศและข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ ที่มุ่งเน้นความเป็นสากล ความไม่แปลกแยกและความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันของสิทธิมนุษยชนทุกข้อ

สิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นส่วนสำคัญในงานรณณงค์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งสาขาของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลในกว่า 50 ประเทศมีการนำเอากระบวนการต่างๆมาใช้ในงานสิทธิมนุษยชนศึกษา เราทำงานกับภาคการศึกษาของรัฐโดยการล็อบบี้รัฐบาลเพื่อหน้นย้ำถึงหลักประกันว่าจะมีการนำเรื่องสิทธิมนุษยชนไปไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน มหาวิทยาลัย การศึกษาของทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน ส่วนการทำงานกับภาคเอกชนนั้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลทำงานส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษากับเครือข่ายและสถาบันที่หลายหลาย รวมทั้ง นักรณรงค์ นักข่าว สหภาพแรงงาน สตรี กลุ่มชุมชน

นับตั้งแต่เริ่มงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในปี พ.ศ. 2539 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยไม่ได้ย่อท้อในการเพาะหว่านเมล็ดพันธุ์ในการเคารพสิทธิมนุษยชนได้รับการปลูกฝัง เติบโต เราสนับสนุนและจัดกิจกรรมต่าง เช่น การอบรม (Workshop) การเยี่ยมห้องเรียนทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย การฉายภาพยนตร์และสารคดี การจัดสัมมนา วงคุย นิทรรศการภาพโปสเตอร์และรูปถ่าย รวมถึงผลิตสื่อและอุปกรณ์สำหรับสิทธิมนุษยชนศึกษา

ในระดับระหว่างประเทศ ผู้ที่สนับสนุนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจากทั่วโลกต่างช่วยกันลงมือปฏิบัติงานและผลักดันให้รัฐบาลของพวกเขานำสิทธิมนุษยชนศึกษาเข้าไปบรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของประเทศตน หรือให้มีการพัฒนาและให้ความสนใจรวมถึงเพิ่มพูนแหล่งข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาให้มากขึ้น

รัฐบาลทุกประเทศต่างมีหน้าที่ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศใน การสอนสิทธิมนุษยชนและจัดให้มีสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ที่สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องที่ได้รับการเคารพและรับรู้ความตระหนักเรื่อง สิทธิมนุษยชน

สนับสนุนและมีส่วนร่วมในสิทธิมนุษยชนศึกษา

โปรดติดตามปฎิทินกิจกรรม หรือติดต่อที่ activism@amnesty.or.th เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนศึกษา