AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

menu

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

แบ่งปัน

สิทธิมนุษยชนคืออะไร

สิทธิมนุษยชน ตามความหมายที่ระบุในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ สิทธิพื้นฐานที่มนุษย์พึงมี ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่ร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ The Universal Declaration of Human Rights ขึ้นเมื่อปี 2491 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อเป็นกรอบในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ได้ให้คำนิยามสิทธิมนุษยชนว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ สัญชาติ ชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา หรือสถานะอื่นใด  สิทธิมนุษยชนรวมถึงสิทธิในการมีชีวิตและเสรีภาพ เสรีภาพจากการเป็นทาสและการทรมาน เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น สิทธิในการทำงานและการศึกษา และอื่นๆ อีกมากมาย ทุกคนมีสิทธิได้รับสิทธิเหล่านี้ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

สิทธิมนุษยชนถือเป็นหลักการสากลที่ทุกประเทศทั่วโลกตระหนักและให้ความสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือที่เรียกว่า คุณค่าสากลแห่งสิทธิมนุษยชน (Core Values) ประกอบด้วย

  1. การไม่เลือกปฏิบัติ (Non Discrimination) คือการที่ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเชื่อทางการเมือง หรือสถานภาพอื่นใด ซึ่งการเลือกปฏิบัติอันเกิดจากความแตกต่าง การกีดกัน หรือมีอคติ จะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนได้
  2. หลักความยุติธรรม (Justice) คือการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้ทุกคนได้รับความเป็นธรรม โดยต้องมีกลไกเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างแท้จริง 
  3. หลักความเสมอภาคเท่าเทียม (Equality) คือการปฏิบัติต่อคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยก และไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม 
  4. หลักเสรีภาพ (Freedom) คือการมีอิสระที่จะกระทำหรือละเว้นการกระทำโดยไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของบุคคลอื่นหรือ มีข้อผูกมัดใด ๆ
  5. หลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) คือการให้คุณค่ากับมนุษย์ทุกคนโดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์เท่านั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานภาพทางสังคมหรือฐานะทางเศรษฐกิจ มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน เท่าเทียมกันทุกคน การกระทำหรือการปฏิบัติที่เหยียดหยาม ลดทอนหรือทำให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ลดลง ย่อมขัดกับหลักการนี้และเข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชน 
  6. หลักการไม่ใช้ความรุนแรง (Nonviolence) คือการไม่ใช้ความรุนแรงในการจัดการปัญหา กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบาย การกระทำหรือการปฏิบัติใด ๆ ที่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาย่อมขัดกับหลักการนี้

สิทธิมนุษยชน ต่างจากคำว่า “สิทธิ” โดยนักกฎหมายทั่วไปมักอธิบายว่า “สิทธิ” คือผลประโยชน์ที่กฎหมายรับรอง ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายในขอบเขตที่แคบในแง่ที่ คนจะมีสิทธิได้ ต้องมีกฎหมายรับรองไว้เท่านั้น ถ้ากฎหมายไม่เขียนรับรองไว้ คนย่อมไม่มีสิทธิหรือไม่ได้รับสิทธิ ดังนั้นเมื่อพูดถึงสิทธิมนุษยชน จึงมีความหมายและขอบเขตกว้างกว่าสิ่งที่กฎหมายรับรอง เนื่องจากสิทธิมนุษยชนได้รับการรับรองว่าเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของการปฏิบัติต่อมนุษย์ 

ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ได้ระบุถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้ในหลายมาตราด้วยกัน เช่น ในมาตรา 4 ระบุว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” และ ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตราที่ 25 ถึง 49 ยังได้บรรยายขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ในหลายด้านด้วยกัน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ เสรีภาพในการแสดงออก การไม่ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัว และทรัพย์สินส่วนตัว เป็นต้น

สิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดที่เป็นนามธรรม แต่เป็นแนวคิดที่ได้รับการนิยามและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงกฎหมาย แต่เป็นการตัดสินใจและเป็นสิ่งที่เราพบเจอในแต่ละวัน สิทธิมนุษยชนจะไม่สามารถถูกพรากไปจากเราได้ เว้นแต่ในบางกรณีอาจถูกจำกัดได้ เช่น ในกรณีที่การกระทำอาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงแห่งชาติ

สิทธิมนุษยชนมีคุณลักษณะเฉพาะที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก ซึ่งประกอบด้วย 

  1. มีความเป็นสากล: สิทธิมนุษยชนเป็นของมนุษย์ทุกคน 
  2. ไม่สามารถพรากได้: สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปจากเราได้ และ
  3. ไม่สามารถแบ่งแยกได้: เนื่องจากสิทธิทุกสิทธิล้วนเกี่ยวข้องกัน รัฐบาลจึงไม่สามารถเลือกที่จะเคารพสิทธิใดสิทธิหนึ่ง และเลือกที่จะละทิ้งสิทธิอื่นได้ สิทธิทุกสิทธิต้องได้รับการเคารพอย่างเท่าเทียมกัน 

และต่อให้มีการพูดถึงหรือระบุถึงสิทธิมนุษยชนไว้ในหลากหลายส่วนทั้งภายในประเทศ ต่างประเทศและระหว่าง  ประเทศ แต่รัฐบาลและคนส่วนใหญ่มักละเลยความสำคัญของสิทธิมนุษยชน หลายครั้งเราจะลุกขึ้นมาต่อสู้และให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนก็ต่อเมื่อสิทธิมนุษยชนของเราถูกละเมิด อีกทั้งในความเป็นจริง สิทธิมนุษยชนนั้นถูกละเมิดตลอดเวลาในทั่วทุกมุมของโลก เช่น ประชาชนถูกจำคุกเพียงเพราะเห็นต่างจากรัฐ พลเมืองตกเป็นเป้าการโจมตีในสงคราม เด็กถูกบังคับให้ออกไปรบ เป็นต้น

ดังนั้น การเคารพสิทธิมนุษยชนจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความเป็นมนุษย์และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคม