AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

menu

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

แบ่งปัน

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

เอเลนอร์ รุสเวลต์ หนึ่งในผู้ร่วมร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกต่างๆ ได้ลงมติรับรองและประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นหลักการสำคัญในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาคมโลก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับนี้มีวัตถุประสงค์และหลักการทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ถึงแม้จะไม่ใช่สนธิสัญญาระหว่างประเทศและไม่มีพันธะผูกพันในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ก็จัดเป็นกฎหมายจารีตระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่สุด ซึ่งประเทศต่าง ๆ จำต้องเคารพหลักการสิทธิมนุษยชนที่ได้ตราไว้ในปฏิญญาฉบับนี้ อีกทั้ง ปฏิญญาฉบับนี้ยังเป็นพื้นฐานของสนธิสัญญาระหว่างประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ อีกหลายฉบับ รวมถึง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR)

ดังนั้นแล้ว ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) คือเอกสารที่ทั่วโลกตกลงใช้ร่วมกันเป็นแนวทางไปสู่เสรีภาพและความเท่าเทียม โดยการปกป้องสิทธิมนุษยชนของทุกคนในทุกแห่งหน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่นานาประเทศเห็นพ้องกันว่าสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการปกป้องเพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างเสรี เท่าเทียมและมีศักดิ์ศรี ปฏิญญาฉบับนี้ได้อธิบายสิทธิ เสรีภาพ และรับรองสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ จำนวน 30 ข้อที่มนุษย์ทุกคนต้องมีและไม่มีใครพรากมันไปได้ ซึ่งสิทธิเหล่านี้ได้เป็นรากฐานสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนจวบจนปัจจุบัน โดย 30 ข้อดังกล่าวประกอบด้วย

  1. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิต่างๆ
  2. ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลฉบับนี้ โดยปราศจาการแบ่งแยกใดๆ
  3. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล
  4. บุคคลใดจะตกอยู่ในความเป็นทาส หรือสภาวะจำยอมไม่ได้ ทั้งนี้ยังห้ามความเป็นทาสและการค้าทาสทุกรูปแบบ
  5. บุคคลใดจะถูกกระทำการทรมาน หรือการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีไม่ได้
  6. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับทุกแห่งหนว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย
  7. มนุษย์ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
  8. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอันมีประสิทธิผลจากศาลต่อการกระทำอันล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของตนตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
  9. บุคคลใดจะถูกจับกุม กักขัง หรือเนรเทศตามอำเภอใจไม่ได้
  10. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในความเสมอภาคอย่างเต็มที่ในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและเปิดเผยจากศาลที่อิสระไม่ลำเอียง
  11. มนุษย์ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา มีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมาย ได้รับการพิจารณาคดีที่เปิดเผย เป็นธรรมและได้รับหลักประกันที่จำเป็นทั้งปวงสำหรับการต่อสู้คดี
  12. บุคคลใดจะถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย การสื่อสาร หรือลบหลู่เกียรติยศและชื่อเสียงไม่ได้
  13. ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายในพรมแดนของแต่ละรัฐ และมีสิทธิที่จะออกนอกประเทศหรือกลับสู่ประเทศของตนได้
  14. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะแสวงหาที่ลี้ภัยในประเทศอื่นจากการประหัตประหารได้ แต่สิทธินี้จะยกขึ้นกล่าวอ้างจากความผิดในประเด็นการเมือง  หรือจากการกระทำอันขัดต่อวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติไม่ได้
  15. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในการถือสัญชาติและสามารถเปลี่ยนสัญชาติของตนเองได้
  16. ชายและหญิงที่มีอายุครบบริบูรณ์มีสิทธิที่จะทำการสมรสและสร้างครอบครัว โดยปราศจากการจำกัดใดอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ สัญชาติหรือศาสนา และย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการสมรส ระหว่างการสมรสและขาดจากการสมรส และได้รับความคุ้มครองจากสังคมและรัฐ  
  17. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือทรัพย์สินโดยร่วมกับผู้อื่น และบุคคลใดจะถูกเอาทรัพย์สินไปจากตนตามอำเภอใจไม่ได้ 
  18. ทุกคนมีสิทธิในการเปลี่ยนศาสนาหรือความเชื่อ  และมีอิสรภาพในการแสดงออกทางศาสนาหรือความเชื่อของตนในชุมชนหรือในพื้นที่สาธารณะ
  19. ทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น แสวงหาข้อมูลข่าวสาร และสามารถรับส่งข้อคิดเห็นต่างๆ ผ่านสื่อใดๆ ก็ตามโดยปราศจากการแทรกแซง
  20. ทุกคนมีสิทธิในการชุมนุมและการสมาคมโดยสันติ และบุคคลใดไม่อาจถูกบังคับให้สังกัดสมาคมใดสมาคมหนึ่งได้
  21. ทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศของตน ทั้งโดยทางตรงหรือทางผู้แทนซึ่งมาจากการเลือกตั้งรวมทั้งทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการสาธารณะในประเทศของตนโดยเสมอภาค
  22. สมาชิกทุกคนของสังคมมีสิทธิในการเข้าถึงหลักประกันทางด้านเศรฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  23. ทุกคนมีสิทธิในการทำงาน สามารถเลือกงานได้โดยอิสระและมีการคุ้มครองเมื่อเกิดการว่างงาน รวมทั้งทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกันสำหรับงานที่เท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ทุกคนมีสิทธิที่จะจัดตั้งหรือเข้าร่วมสหภาพแรงงานเพื่อความคุ้มครองแห่งผลประโยชน์ของตน
  24. ทุกคนมีสิทธิในการพักผ่อนและผ่อนคลายยามว่าง รวมทั้งจำกัดเวลาทำงานของตนตามสมควรและวันหยุดเป็นครั้งคราวโดยจะต้องได้รับค่าจ้าง
  25. ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการทางสังคมที่จำเป็นเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีกินดีของตนเองและครอบครัว และมีสิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย ชราภาพ หรือปราศจากการดำรงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน
  26. ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
  27. ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมของชุมชนอย่างอิสระ และทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองผลประโยชน์อันเกิดจากการประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์ วรรณกรรมและศิลปกรรมซึ่งตนเป็นผู้สร้างขึ้น
  28. ทุกคนมีสิทธิในการจัดระเบียบทางสังคมและสังคมระหว่างประเทศ
  29. การใช้สิทธิและอิสรภาพของทุกคนต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดเพียงเท่าที่มีกำหนดไว้ตามกฎหมายเท่านั้น ตลอดจนสิทธิและอิสรภาพเหล่านี้จะต้องไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติไม่ว่ากรณีใด ๆ
  30. ไม่มีบทใดในปฏิญญานี้ที่อาจตีความได้ว่าเป็นการให้สิทธิใดแก่รัฐ กลุ่มคน หรือบุคคลใดในการดำเนินกิจกรรมใด หรือกระทำการอันมุ่งต่อการทำลายสิทธิและอิสรภาพที่กำหนดไว้ ณ ที่นี้

ซึ่งสิทธิมนุษยชนทั้ง 30 ข้อที่ได้ระบุข้างต้นสามารถจำแนกออกได้ 5 ประเภท ประกอบด้วย 

  1. สิทธิพลเมือง (Civil Rights) เช่น สิทธิในชีวิตและร่างกาย สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในการได้รับสัญชาติ เป็นต้น 
  2. สิทธิทางการเมือง (Political Rights) เช่น เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการรวมกลุ่ม สิทธิในการเลือกตั้ง เป็นต้น
  3. สิทธิทางเศรษฐกิจ (Economic Rights) เช่น สิทธิในการมีงานทำและได้รับค่าจ้างอย่างเป็นธรรม สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นต้น
  4. สิทธิทางสังคม (Social Rights) เช่น สิทธิในการได้รับการศึกษา เสรีภาพในการเลือกคู่ครองและสร้างครอบครัว สิทธิในการได้รับหลักประกันด้านสุขภาพ เป็นต้น 
  5. สิทธิทางวัฒนธรรม (Culture Rights) เช่น สิทธิในการพักผ่อนหย่อนใจ สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา เป็นต้น 

สิทธิมนุษยชนทุกข้อล้วนมีความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน และทุกรัฐบาลต้องให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนทุกข้ออย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม รัฐทุกรัฐมีหน้าที่ในการปกป้องและทำให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสิทธิมนุษยชนได้โดยไม่คำนึงถึงอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของชาติ ทั้งของรัฐและของประชาชน ดังนั้นไม่ว่ามนุษย์จะมีความแตกต่างอย่างไร หนึ่งในบรรทัดฐานสำคัญที่เป็นหัวใจของสิทธิมนุษยชนทุกข้อที่ระบุไว้ในปฏิญญา ก็คือมนุษย์ทุกคนมีสิทธิโดยที่ใคร              ก็พรากไปไม่ได้

ทั้งนี้ นอกจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้ว องค์การสหประชาชาติเป็นต้นกำเนิดสำคัญในการกำหนดมาตรฐานสากลและได้จัดตั้งกลไกในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลายรูปแบบ ซึ่งมีผลผูกพันต่อประเทศสมาชิก รวมทั้งประเทศไทย ตราสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ของสหประชาชาติ กลไกด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติที่จัดตั้งขึ้นทั้งโดยกฎบัตรสหประชาชาติ ตราสารต่าง ๆ และกลไกอื่น ๆ ของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อกำหนดมาตรฐานสากล ตลอดจนการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนที่กำหนดไว้ ซึ่งตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ถือเป็นสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (Core international human rights treaties) ภายใต้สหประชาชาติ มีทั้งสิ้น 9 ฉบับ ดังนี้

  1. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
    (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR)
  2. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
    (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights หรือ ICESCR)
  3. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
    (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women หรือ CEDAW)
  4. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
    (Convention on the Rights of the Child หรือ CRC)
  5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
    (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination หรือ CERD)
  6. อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
    (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment หรือ CAT)
  7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ
    (Convention on the Rights of Persons with Disabilities หรือ CRPD)
  8. อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
    (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance หรือ CED)
  9. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว
    (Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Member of their Families หรือ CMW)

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศหลักเหล่านี้แล้วทั้งสิ้น 7 ฉบับ โดยไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว

นอกจากนี้ ไทยยังได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาฉบับต่าง ๆ ได้แก่ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา CEDAW ว่าด้วยการรับข้อร้องเรียน และอนุสัญญา CRC 3 ฉบับคือ พิธีสารเลือกรับ เรื่องการขายเด็ก การค้าประเวณีและสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the sale of children, child prostitution and child pornography) พิธีสารเลือกรับ เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the involvement of children in armed conflict) และพิธีสารเลือกรับ เรื่องกระบวนการติดต่อร้องเรียน (Optional Protocol to the Convention on a communications procedure)

ประเภทของสิทธิ

 

คุณค่าสากลแห่งสิทธิมนุษยชน