AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

menu

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

แบ่งปัน

สิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศ

สิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+ Rights)

“มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ”  ข้อความนี้ถูกระบุในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นของทุกคน โดยผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ต่างก็มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง เคารพและเติมเต็มสิทธิมนุษยชนของพวกเขาเช่นเดียวกัน รวมไปถึงการคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ การใช้ความรุนแรง และการทรมาน

อย่างไรก็ตาม ผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลกกลับต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง ทั้งการทุบตีอย่างทารุณ ความรุนแรงทางเพศ การยั่วยุให้เกิดความเกลียดชัง การละเมิดในที่คุมขังและสถานพยาบาล การตีตรา  การทำให้การเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นอาชญากรรม การคุกคาม กลั่นแกล้งและเลือกปฏิบัติในที่ทำงานและที่บ้าน ตลอดจนในสถานศึกษา และการเข้าถึงบริการสาธารณะ พวกเขาถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเพียงเพราะมีอัตลักษณ์ การแสดงออก พฤติกรรมหรือร่างกายที่ไม่ตรงกับบรรทัดฐานและบทบาททางเพศที่สังคมนั้น ๆ กำหนด ซึ่งรวมไปถึงหลักคิดที่ว่าคนเรามีสองเพศคือชายและหญิงเท่านั้น (binary system) และถูกเลือกปฏิบัติแบบทับซ้อน ไม่ใช่แค่บนพื้นฐานทางรสนิยม อัตลักษณ์และลักษณะทางเพศเท่านั้น แต่รวมไปถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของสีผิว ชาติพันธุ์ สัญชาติ ความพิการ ศาสนา สถานะทางสุขภาพ และอื่น ๆ ซึ่งเมื่อรวมกับปัจจัยทางเพศ ทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศนั้นรุนแรงเป็นวงกว้างยิ่งขึ้นไปอีก

ทำไมสิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศจึงสำคัญ?

ผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นมนุษย์เหมือนกับเราทุกคน สิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศจึงเป็นสิทธิมนุษยชนเช่นกัน ไม่มีใครสมควรได้รับการเลือกปฏิบัติหรือถูกเกลียดชังเพียงเพราะพวกเขามีอัตลักษณ์ รสนิยมหรือลักษณะทางเพศแตกต่างกับเรา ทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก ซึ่งหมายรวมถึงการแสดงออกทางเพศด้วย มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร ย่อมต้องการการยอมรับในตัวตนหรืออัตลักษณ์ของตัวเอง เหมือนการต้องการให้ผู้อื่นยอมรับในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ต้องการให้คนอื่นยอมรับในศาสนา ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ สถานะทางเศรษฐกิจของเราโดยไม่มีอคติหรือการเลือกปฏิบัติ การยอมรับรสนิยม อัตลักษณ์หรือลักษณะทางเพศก็เช่นกัน การยอมรับกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศและเข้าใจตัวตนของพวกเขาสามารถทำให้ข้อจำกัดที่เกิดจากการเหมารวมทางเพศ (gender stereotypes) หมดไป ซึ่งจะทำให้คนทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนทั้งปวงได้โดยปราศจากข้อจำกัดอันแบ่งแยกทางสังคม ทำให้พวกเขาสามารถที่จะแสดงออก ใช้ศักยภาพของตนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมได้อย่างเต็มที่

การสนับสนุนสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศรวมถึงการผลักดันนโยบายและกฎหมายที่ขจัดการเลือกปฏิบัติทางเพศที่จะช่วยลดการกีดกันทางเศรษฐกิจและสังคม และทำให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศสามารถเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และการจ้างงานมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีผู้มีความหลากหลายทางเพศหลายคนที่ถูกคุกคามหรือเสี่ยงต่อการคุกคามจากกลุ่มที่ต่อต้านพวกเขา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ ความปลอดภัย และเสรีภาพ การลบล้างวาทกรรมการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน (Homophobia) และการเกลียดกลัวคนข้ามเพศ (Transphobia) จะช่วยให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศจากความเสี่ยงทางร่างกายและจิตใจ

LGBTQIA ย่อมาจากอะไร

L –  Lesbian (เลสเบี้ยน)

G – Gay (เกย์)

B – Bisexual (ไบเซ็กชวล)

T – Transgender (ทรานส์เจนเดอร์)

Q – Queer / Questioning (เควียร์)

I – Intersex (อินเทอร์เซ็กส์)

A – Agender (เอเจนเดอร์)

ภาษาที่ใช้เรียกกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้อาจมีการเพิ่มตัวย่อหรือความหมายในอนาคต

นิยามศัพท์ที่ควรรู้

อัตลักษณ์ทางเพศ หรือสำนึกทางเพศ (Gender Identity) สามารถสะท้อนสำนึกและความรู้สึกทางเพศของตนเอง ว่าตนเองเป็นเพศอะไร โดยอัตลักษณ์ทางเพศของแต่ละคนอาจสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิดก็ได้ เช่น ทรานส์เจนเดอร์หรือทรานส์ (Transgender / Trans) เป็นคำที่ให้ความหมายครอบคลุมในวงกว้างในการอธิบายบุคคลที่มีการแสดงออกทางเพศและอัตลักษณ์ที่หลากหลาย ได้แก่ คนข้ามเพศ (transexual people) คนที่แต่งตัวข้ามเพศ (cross-dress) หรือแต่งตัวไม่ตรงกับเพศสรีระของตน บุคคลที่ถูกนิยามว่าไม่ได้เป็นชายหรือหญิง คนที่มีสำนึก อัตลักษณ์ทางเพศต่างกับเพศกำเนิด เป็นต้น การข้ามเพศนั้นทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การศัลยกรรม แปลงเพศและรับการบำบัดทางฮอร์โมนเพื่อทำให้ร่างกายของพวกเขาสอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศ เปลี่ยนสรรพนามใหม่ เปลี่ยนชื่อ หรือทำเรื่องรับรองเพศสถานะตามกฎหมาย ในขณะที่ ซิสเจนเดอร์ (Cisgender) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “cis” ใช้สำหรับอธิบายบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศตรงกับเพศกำเนิดของตน เช่น คนที่มีเพศสรีระเป็นชาย รับรู้และมีสำนึกทางเพศเป็นชาย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีคนที่นิยามว่าตัวเองเป็นเอเจนเดอร์ (Agender) ไม่ระบุอัตลักษณ์ทางเพศ และ/หรือ ปฏิเสธแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศที่ตายตัว   

การแสดงออกทางเพศ (Gender Expression) คือ วิธีหรือพฤติกรรมที่เราแสดงออกทางเพศผ่านการกระทำและรูปลักษณ์ รวมถึงการแต่งกาย การพูดและกิริยาต่าง ๆ ซึ่งจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเพศทางชีวภาพ (biological sex) อัตลักษณ์ทางเพศ หรือรสนิยมทางเพศก็ได้ 

ลักษณะทางเพศ (Sex characteristics) คือ ลักษณะทางกายภาพทางเพศ ทั้งอวัยวะเพศ และระบบสืบพันธ์ุ โครโมโซม ฮอร์โมน และการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิในช่วงวัยรุ่น   

อินเทอร์เซ็กส์ (Intersex) คือ คนที่เกิดมาพร้อมกับลักษณะทางเพศที่ไม่สอดคล้องกับคำนิยามหรือคุณลักษณะทั่วไปตามบรรทัดฐานของชายหรือหญิง ร่างกายของบางคนมีทั้งลักษณะของเพศหญิงและเพศชาย และบางคนมีองค์ประกอบของโครโมโซมไม่ใช่ทั้งหญิงหรือชาย ลักษณะเหล่านี้อาจปรากฏตั้งแต่กำเนิด เริ่มปรากฏชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือภายหลังในชีวิต   อินเตอร์เซ็กส์อาจมีรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศใดก็ได้ 

รสนิยมทางเพศ (Sexual orientation) คือ แรงดึงดูดทางกายภาพ และ/หรือแรงดึงดูดทางอารมณ์ ความต้องการทางเพศของบุคคลต่อผู้อื่น คนส่วนใหญ่มีรสนิยมทางเพศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ของตัวเอง เช่น เกย์ (Gay men) หรือผู้ที่นิยามตัวเองว่าเป็นเพศชาย และ เลสเบี้ยน (Lesbian) หรือผู้ที่นิยามตัวเองว่าเป็นเพศหญิง มีแรงดึงดูดทางกายและทางใจต่อผู้ที่นิยามตนเองว่าเป็นเพศเดียวกับพวกเขา ในขณะที่ผู้ที่มีความชอบในเพศตรงข้าม (Heterosexual) จะมีแรงดึงดูดทางกายและทางใจต่อผู้ที่มีนิยามทางเพศต่างกับตัวเอง นอกจากนี้ ไบเซ็กชวล (ฺBisexual) หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า ไบ (bi) มีแรงดึงดูดทั้งต่อผู้ที่เป็นเพศเหมือนกับตัวเองหรือต่างกับตัวเอง เลสเบี้ยน เกย์หรือไบเซ็กชวลอาจมีอัตลักษณ์ทางเพศหรือลักษณะทางเพศใด ๆ ก็ได้ 

รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และลักษณะทางเพศของแต่ละคนไม่เหมือนกันและมีความหลากหลายมากกว่าที่ได้ระบุไว้ในข้อมูลข้างต้น สิ่งที่สำคัญคือเราต้องเคารพทางเลือกของแต่ละบุคคล ซึ่งรวมไปถึงการเรียกหรือกล่าวถึงชื่อหรือสรรพนามของบุคคลอื่น โดยเราสามารถถามบุคคลอื่นได้ว่าเขาต้องการให้เราปฏิบัติต่อเขาอย่างไร เช่น การใช้สรรพพนาม เธอ/เขา (his/ her) เวลากล่าวถึงบุคคลนั้น เป็นต้น 

สิทธิตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International covenant on civil and political rights – ICCPR)

สิทธิในเสรีภาพจากการเลือกปฏิบัติ ความเสมอภาคตามกฎหมาย และการคุ้มครองที่เท่าเทียมทางกฎหมายที่เกี่ยวกับวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ

สิทธิพื้นฐานในที่ทำงาน

สิทธิในการได้รับการส่งเสริมการจ้างงาน

กลไกระหว่างประเทศ 

กฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง

สถานการณ์ปัจจุบัน

รัฐมีหน้าที่อะไร? (State Obligations)

รัฐมีหน้าที่ในการเคารพ ปกป้องและเติมเต็มสิทธิมนุษยชนของทุกคนซึ่งรวมไปถึงผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วย

เคารพ (Respect)

ปกป้อง (Protect)

เติมเต็ม (Fulfil)