AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

menu

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

แบ่งปัน

สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นสิทธิ 2 ชุดที่แตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์กัน 

สิทธิพลเมือง (Civil Rights) คือสิทธิที่ปกป้องบูรณการภาพทางร่างกายและจิตใจของบุคคล ได้แก่ สิทธิในการมีชีวิตรอด สิทธิที่จะไม่ตกเป็นทาส ไม่ถูกทรมาน  สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม สิทธิความเป็นส่วนตัว, เสรีภาพในการเดินทาง, สิทธิที่จะลี้ภัย, สิทธิที่จะมีสัญชาติ, เสรีภาพในการแต่งงาน, สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน, เสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นต้น

สิทธิทางการเมือง (Political Rights) หมายถึง สิทธิที่ประกันให้บุคคลสามารถมีส่วนร่วมในชีวิตทางพลเมืองและชีวิตทางการเมืองของสังคมและรัฐ เช่น สิทธิในการมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ สิทธิในการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรม สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ สิทธิในเสรีภาพความคิด มโนธรรมและศาสนา เป็นต้น 

สิทธิพลเมืองและสิทธิมนุษยชน แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร

เราได้รับสิทธิพลเมืองจากการเป็นพลเมืองของประเทศหรือรัฐใดรัฐหนึ่ง สิทธิพลเมืองมีไว้เพื่อปกป้องพลเมืองจากการเลือกปฏิบัติและเพื่อให้พวกเขามีเสรีภาพบางอย่างในประเทศนั้น สิทธิพลเมืองในแง่นี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐและพลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของแต่ละรัฐ ซึ่งรัฐรับประกันสิทธิพลเมืองโดยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายภายในประเทศ พลเมืองในประเทศใดจะมีสิทธิพลเมืองใดบ้าง ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละรัฐว่าจะให้สิทธิพลเมืองใดกับพลเมืองในปกครองของรัฐนั้นบ้าง ในขณะที่สิทธิมนุษยชนนั้นมีความเป็นสากลและเป็นของมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศใดก็ตาม  เมื่อรัฐบัญญัติหรือกำหนดให้มีการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนในกฎหมายภายในประเทศ สิทธิมนุษยชนบางประการก็จะกลายเป็นสิทธิพลเมือง เช่น ในระดับสากล สิทธิในเสรีภาพในการแต่งงานเป็นสิทธิมนุษยชนที่ถูกบัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ในแง่สิทธิพลเมือง เสรีภาพในการแต่งงานอาจขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางกฎหมายภายของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ทั้งสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง ต่างมีเป้าประสงค์ในการปกป้องพลเมืองจากการเลือกปฏิบัติ ความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียม   

 

กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองถูกระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights – UDHR) ในข้อ 3 – 17 (สิทธิทางพลเมือง) และในข้อ 18 – 21 (สิทธิทางการเมือง) นอกจากนี้ ยังมีการรับรองและบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาพหุภาคีที่มีผลผูกพันทางกฎหมายกับรัฐที่เข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น โดยรัฐภาคีจะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญานี้อีกด้วย สิทธิและเสรีภาพที่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และไม่มีอยู่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้แก่ สิทธิของชนกลุ่มน้อย (มาตรา 27) สิทธิที่จะไม่ถูกจำคุกเนื่องจากไม่สามารถชำระหนี้ได้ (มาตรา 11) สิทธิของเด็กทุกคนในการได้รับสัญชาติ (มาตรา 24 (3)) สิทธิของผู้ถูกคุมขังที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม (มาตรา 10 (1)) และมาตรการพิเศษในการคุ้มครองชนกลุ่มน้อย ในขณะที่สิทธิที่ถูกกล่าวถึงในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ไม่มีในกติการะหว่างประเทศฉบับนี้ ได้แก่ สิทธิในการขอลี้ภัย (ข้อ 14) และสิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน (ข้อ 17)

สิทธิที่ไม่อาจระงับชั่วคราวได้/ สิทธิที่ไม่อาจลดทอนได้ (Non-derogable rights)

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมีลักษณะเฉพาะคือ มีการกำหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมาตรการการเลี่ยงพันธกรณีเพื่ออนุญาตให้รัฐสามารถเลี่ยงพันธกรณีของตนภายใต้กติกานี้ได้เพียงเท่าที่จำเป็นในภาวะฉุกเฉินสาธารณะซึ่งคุกคามต่อความอยู่รอดของชาติ (มาตรา 4) ซึ่งหมายความว่า สิทธิและเสรีภาพบางประการอาจถูกระงับได้เมื่อประเทศตกอยู่ในภาวะฉุกเฉินดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กติการะหว่างประเทศนี้ยังได้กำหนดสิทธิที่ไม่อาจระงับชั่วคราวได้/ สิทธิที่ไม่อาจลดทอนได้ ในมาตรา 4(2) หรือ สิทธิที่รัฐไม่อาจเลี่ยงพันธกรณี ในการเคารพหรือคุ้มครอง แม้รัฐจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (State of Emergency) หรือสภาวะยกเว้น (State of Exception)  ได้แก่  

สถานการณ์สิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของประเทศไทย

การบังคับบุคคลให้สูญหาย

คณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจขององค์การสหประชาชาติ (The United Nations Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) ได้บันทึกกรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทยมากถึง 82 คดี ระหว่าง พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2558 ซึ่งรวมไปถึงกรณีของ พอละจี รักจงเจริญ (บิลลี่) นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยง เด่น คำแหล้ นักปกป้องสิทธิที่ดินทำกินของชุมชน และสมชาย นีละไพจิตร ทนายความสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังมีนักกิจกรรมไทยอีกอย่างน้อย 8 คนซึ่งเคยลี้ภัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านและถูกอุ้มหายหรือทำให้สูญหายในระหว่างปี 2559-2562

ในเดือนมิถุนายน 2563 นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักกิจกรรมชาวไทยซึ่งลี้ภัยอยู่ในประเทศกัมพูชาถูกลักพาตัวโดยบุคคลไม่ทราบฝ่าย อย่างไรก็ตาม ทางการไทยไม่ได้ประกาศว่าจะดำเนินการร่วมกับรัฐบาลกัมพูขาเพื่อค้นหาตัวเขาในทันที 

ประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of all Persons from Enforced disappearance – CED) ในปี 2555 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาดังกล่าว อนุสัญญานี้จึงยังไม่มีผลบังคับใช้กับประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีความผิดฐานบังคับให้สูญหายโดยตรง แต่มีการผลักดันให้บรรจุความผิดฐานบังคับบุคคลให้สูญหายกับการกระทำทรมานไว้ใน (ร่าง) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ…. 

 

การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย

ในปี 2561 ผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ลี้ภัยในประเทศลาว 3 คน ได้แก่ สุรชัย แซ่ด่าน ไกรเดช ลือเลิศ และชัชชาญ บุปผาวัลย์ หายตัวไปจากที่พัก และถูกพบศพริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งสภาพศพนั้นแสดงให้เห็นว่าทั้งสามถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยม 

ในเดือนมีนาคม ปี 2563 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เผยแพร่รายงาน “เราก็เป็นแค่ของเล่นเขา” การละเมิดทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศต่อทหารเกณฑ์ในกองทัพไทย ซึ่งเป็นรายงานที่ตีแผ่แบบแผนการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายต่อทหารเกณฑ์โดยผู้บังคับบัญชา

นอกจากนี้ ยังมีรายงานเกี่ยวกับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายต่อผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงและผู้ต้องสงสัยว่าก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 

ประเทศไทยให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (the Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment – CAT) ไว้เมื่อปี 2550 อย่างไรก็ตาม (ร่าง) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ…. ยังคงอยู่ในกระบวนการการพิาจารณาของรัฐสภา

สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก และการชุมนุมโดยสงบ

รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563   และมีการประกาศขยายระยะเวลาสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 17 ซึ่งปัจจุบัน มีระยะเวลาถึงวันที่ 31 พ.ค.. 2565 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และใช้อำนาจอย่างกว้างขวางตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินในการจำกัดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก และการชุมนุมโดยสงบ โดยมีผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน  ทั้งคดีในระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และคดีฝ่าฝืนข้อกำหนดเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 นับตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันมากกว่า 1400 คน และมีผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะอีกอย่างน้อย 100 คน

ในปี 2563 ถึง 2564 ตำรวจได้มีการใช้กำลังเกินกว่าเหตุในการสลายการชุมนุมโดยสงบหลายครั้ง โดยมีการฉีดน้ำแรงดันสูงผสมสารเคมีที่ก่อความระคายเคือง  ขว้างกระป๋องแก๊สน้ำตา และยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุม นอกจากนี้ นับตั้งแต่ปี 2563 มีผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมืองในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มากกว่า 100 ราย บทลงโทษจำคุก 3- 15 ปี และการบังคับใช้มาตรา 112 ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน เช่น กรณีของ อัญชัญ ปรีเลิศ นักโทษคดี ม.112 ถูกตัดสินจำคุกนานถึง 43  ปี 6 เดือน ซึ่งนับว่าเป็นคดีอัตราโทษสูงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมาหลังรัฐประหาร 2557 

นอกจากนี้ ทางการไทยยังดำเนินคดีกับผู้วิจารณ์ความล้มเหลวของรัฐบาลในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และผู้ที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองบนโลกออนไลน์ โดยพิจารณาการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ ทางการไทยยังมีการปิดกั้นสื่อ เช่นในเดือนสิงหาคมปี 2563 เฟซบุ๊กได้จำกัดการเข้าถึงกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลสซึ่งเป็นกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ตามคำขอของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และในเดือนตุลาคม 2563 กระทรวงดิจิทัลได้มีการขอคำสั่งศาลเพื่อปิดกั้นสำนักข่าวออนไลน์ 5 แห่ง ได้แก่ Voice TV, The Reporters, The Standard และประชาไท โดยศาลอาญาพิจารณาและสั่งให้ยกคำร้องโดยยืนยันเสรีภาพสื่อตามรัฐธรรมนูญ