“การสมาคม” หมายถึง การที่กลุ่มบุคคลหลายคนมารวมตัวกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการ ซึ่งนิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทําการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการแสวงหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน แสดงออกในรูปสิทธิในการเข้าร่วมสหภาพแรงงาน มีเสรีภาพในการพูดหรือเข้าร่วมสมาคมโต้วาที หรือสโมสร รวมทั้งองค์การศาสนา ภราดรภาพ และสโมสรกีฬาหรือสมาคมรูปแบบอื่น ๆ และต้องไม่ถูกบังคับให้เข้าร่วมสมาคมใดสมาคมหนึ่ง
“สิทธิเสรีภาพในการสมาคม” เป็นสิทธิที่ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ในข้อ 22 ของ ICCPR ระบุว่า “บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการสมาคม รวมทั้งสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องประโยชน์ของตน” สิทธิเสรีภาพในการสมาคมยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดสิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะซึ่งได้รับการรับรองไว้ในข้อ 25 ของ ICCPR
นอกจากนั้นเสรีภาพในการสมาคมยังเป็นสิทธิที่ได้รับการหนุนเสริมจากสิทธิและเสรีภาพอื่น ๆ เช่น เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิด้านความคิด มโนธรรมสำนึก และศาสนา ด้วยเหตุดังกล่าว เสรีภาพในการสมาคมจึงมีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อพัฒนาการสังคม บุคคล ศักดิ์ศรี และการบรรลุเป้าหมายในชีวิตของบุคคลทุกคน และเพื่อความก้าวหน้า และสวัสดิการของสังคม อีกทั้งเอื้อให้กลุ่มที่มีความเชื่อ การปฏิบัติ หรือนโยบายที่หลากหลาย อยู่ร่วมกันโดยสันติได้
ปัจจุบันแม้ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) แต่มาตรฐานเสรีภาพการในการสมาคมในประเทศยังคงถูกจำกัด โดยที่รัฐไทยและกลุ่มคนที่อยู่ฝ่ายเดียวกับรัฐ พยายามผลักดันให้ออกกฎหมายในลักษณะที่มีการควบคุมและจำกัดเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการสมาคม
ปัจจุบันแม้ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) แต่มาตรฐานเสรีภาพการในการสมาคมในประเทศยังคงถูกจำกัด โดยที่รัฐไทยและกลุ่มคนที่อยู่ฝ่ายเดียวกับรัฐ พยายามผลักดันให้ออกกฎหมายในลักษณะที่มีการควบคุมและจำกัดเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการสมาคม
โดยมีร่างกฎหมายหลักที่เห็นชัดว่ามุ่งควบคุมการรวมกลุ่มและการสมาคมอยู่ 2 ฉบับ คือ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ตามที่สำนักงานปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เป็นผู้เสนอ โดยมีเนื้อหาที่มุ่งควบคุมการได้รับการสนับสนุนในการสมาคมและการรวมกลุ่มของภาคประชาสังคม และบังคับจดทะเบียนภายใต้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งมีข้อกังวงในการจำกัดเสรีภาพในการสมาคมดังนี้
ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ.
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เห็นชอบร่างร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวและมอบหมายคณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบยกร่างก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งต่อมามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 เห็นชอบแนวทางการยกร่างฉบับใหม่ของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) โดยฉบับนี้ใช้ชื่อว่า “ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ.” ซึ่งมีข้อกังวงในการจำกัดเสรีภาพในการสมาคมดังนี้
ถูกรัฐสอดส่อง
ถูกรัฐควบคุมการทำงาน
มาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับเสรีภาพในการสมาคม
สิทธิเสรีภาพในการสมาคมนอกจากได้รับการรับรองไว้ในตราสารด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญต่าง ๆ รวมถึงกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ประเทศไทยเป็นภาคี1 ในข้อ 22 แล้วนั้น “ปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” ยังรับรองสิทธิของบุคคลในการจัดตั้ง เข้าร่วม และมีส่วนร่วมในองค์กรภาคประชาสังคม สมาคม หรือกลุ่มเพื่อสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิทธิเสรีภาพในการสมาคม นอกจากนี้ ยังระบุถึงความสำคัญที่องค์กรภาคประชาสังคมสามารถใช้สิทธิในการสมาคมและการแสดงออกได้อย่างเสรี ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการแสวงหา ได้รับ และการเผยแพร่ความคิดและข้อมูลใด ๆ การรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน การมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลและการดำเนินกิจการสาธารณะ การเข้าถึงและสื่อสารกับองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และส่งข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปนโยบายและกฎหมายทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและการสมาคมได้เน้นย้ำในทิศทางเดียวกันว่าสมาคมต่าง ๆ ควรมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เผยแพร่ข้อมูล มีส่วนร่วมกับสาธารณะ และรณรงค์กับรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีจุดประสงค์เพื่อการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและนโยบายอื่น ๆ