AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

menu

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

แบ่งปัน

เด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน

เรื่องและภาพโดย Naritha Pokaiyaanunt

ปฏิเสธไม่ได้ว่าแนวคิดที่กำลังขยายตัวมากขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกอันเกี่ยวเนื่องกับบทบาทของเด็กในตอนนี้ ได้แก่ เด็กในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (children as a human rights defender) เด็กในฐานะพลเมืองที่ตื่นตัว (children as active citizen) และเด็กในฐานะผู้มีอำนาจตัดสินใจด้วยตนเอง (children as an agency) เราจะพบว่าในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก เด็ก ๆ ได้รวมพลังขับเคลื่อนอย่างจริงจังในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนต่อต้านรัฐบาลที่ปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การแก้ปัญหาโลกร้อนซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้ใหญ่ก่อขึ้นและกำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตของบรรดาเด็กๆ ที่ต้องเติบโตและใช้ชีวิตในอนาคต

เด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนคือใคร

ตามนิยามของสหประชาชาติ เด็กทุกคนที่ออกมารณรงค์และปกป้องสิทธิมนุษยชนรวมไปถึงสิทธิของเด็กเอง คือเด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน ถึงแม้จะมีการเรียกที่หลากหลายเช่น เด็กผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง เด็กนักรณรงค์ ฯลฯ เด็กคือผู้ทรงสิทธิ ผู้เรียกร้อง และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เด็กในทุก ๆ ประเทศและทุก ๆ ภูมิภาคต่างตื่นตัวและลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของเด็กและสิทธิมนุษยชน เด็ก ๆ ที่แสดงบทบาทของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกำลังสร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนไปทั่วโลก
ทำไมเราจึงต้องตระหนักถึงการมีอยู่ของเด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน
เพราะการยืนหยัดของแนวคิดสากลที่ว่า

  1. เด็กทุกคนมีสิทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
  2. เด็กมีศักยภาพที่จะเข้าใจและเรียกร้องสิทธิมนุษยชนได้
  3. เด็กสามารถและควรจะออกมาพูดหากถูกละเมิดสิทธิ

เด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนต่างจากนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างไร?

ทั้งผู้ใหญ่และเด็กต้องตระหนักว่าเด็กมีสิทธิในการเป็นผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนในบริบทเดียวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เด็กต้องตระหนักและรับรู้ได้ว่ากลไกลระดับชาติ ภูมิภาค และนานาชาติสามารถหนุนเสริมการมีส่วนร่วมกับเด็กได้ และต้องทำให้แน่ใจว่าเด็กจะเข้าถึงกลไกต่าง ๆ เหล่านี้และนำมาใช้ได้จริง พลังงาน ความสร้างสรรค์ ความชื่นชมยินดี และความมุ่งมั่นที่บรรดาเด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนแสดงออกในกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของพวกเขาเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้ใหญ่เร่งดำเนินการต่าง ๆ ที่ยอมรับบทบาทของเด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนของพวกเขา และสร้างเงื่อนไขบรรยากาศต่าง ๆ ที่จะช่วยยกระดับความเข้มแข็งในการดำเนินบทบาทดังกล่าวของพวกเขาให้สำเร็จลุล่วงอย่างปลอดภัย

เด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลกกำลังถูกคุกคาม

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นเด็กและเยาวชนต้องเผชิญความเสี่ยงและอันตรายที่แตกต่างจากกลุ่มอื่น เนื่องจากพวกเขาเป็นกลุ่มที่อยู่ล่างสุดในโครงสร้างอำนาจ และต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติ ประกอบกับการกดขี่ในรูปแบบอื่น ๆ ส่งผลให้นักปกป้องสิทธิที่เป็นเยาวชน ซึ่งมักจะถูกมองว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่ชอบสร้างปัญหา มีความคิดอุดมคติหรือไร้เดียงสาจนเกินไป และมักถูกทำลายชื่อเสียงและถูกปิดปาก

อุปสรรคเด่นชัดที่บรรดาเด็กเหล่านั้นต้องเผชิญเมื่อพวกเขาดำเนินบทบาทของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ภาพความท้าทายหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่บรรดาเด็ก ๆ นักกิจกรรมเหล่านั้นประสบพบเจอ ได้แก่ การเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของพวกเขา การไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจังจากผู้ใหญ่ การถูกละเมิดทั้งทางกายและวาจา และการถูกคุกคามทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ อีกทั้งยังถูกขัดขวางจากครอบครัวของพวกเขา กลุ่มผู้อาวุโส สถานศึกษา หรือตำรวจ ตลอดจนการเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแหล่งสนับสนุน หรือแหล่งการชดเชยเยียวยา ถึงแม้บรรดานักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นผู้ใหญ่ก็เผชิญอุปสรรคหรือความท้าทายเฉกเช่นพวกเขาในบางประการ แต่เด็กมีสิทธิมนุษยชนเฉพาะอันชอบธรรม ซึ่งสิทธิเฉพาะส่วนใหญ่ของพวกเขาได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและพิธีสารเลือกรับภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอีกหลายฉบับ บทบาทที่พวกเขาแสดงออกในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่ก็สอดคล้อง หรือตรงกับสิทธิพิเศษที่ระบุในข้อตกลงสากลดังกล่าว

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรของสังคมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน หรือที่มักเรียกกันย่อ ๆ ว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเอกสารแสดงข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ล้วนครอบคลุมทุกคนซึ่งหมายรวมถึงเด็กด้วย ปฏิญญาดังกล่าวไม่ได้ระบุเพิ่มสิทธิใหม่ใด ๆ เพียงแต่อ้างถึงสิทธิต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้นำไปประยุกต์ใช้กับบทบาทและสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและบทบัญญัติเฉพาะกาลต่าง ๆ สำหรับเด็กที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities — CRPD) จึงล้วนมีความสำคัญที่จะนำมาใช้ในการตีความร่วมกับปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและปรับให้เข้ากับกฎหมาย นโยบาย และข้อปฏิบัติระดับชาติให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผลสำหรับเด็ก ในทำนองเดียวกัน ปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและกรอบกฎหมายที่เกิดจากปฏิญญาฉบับนี้ถือเป็นเครื่องมือซึ่งมีเอกลักษณ์พิเศษที่ช่วยยกระดับการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในระดับประเทศ โดยเฉพาะในด้านที่เชื่อมโยงกับการทำให้สิทธิของบรรดาเด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนได้รับความสนใจและรับฟังมากขึ้น รวมถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ควรดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นใจว่า เด็กจะได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิของตนเองเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน อีกทั้งได้ยกระดับบทบาทดังกล่าวให้เข้มแข็งขึ้น โดยไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหาและไม่ถูกจำกัดสิทธิดังกล่าวโดยไม่จำเป็นหรือไม่สมควร 

ดังนั้นถึงแม้เด็กจะได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นพิเศษจนเสมอกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นผู้ใหญ่ แต่ในทางปฏิบัติการใช้สิทธิมนุษยชนของพวกเขาถูกจำกัดอยู่ในกรอบทางสังคมอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหนึ่งมาจากการที่ภาครัฐและฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (รวมถึงผู้ปกครอง และโรงเรียน) อาจจะมองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่า เด็กก็เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้ด้วยเช่นกัน หรือมาจากสาเหตุที่บทบาทของพวกเขาถูกจำกัดด้วยกรอบแบบแผนต่าง ๆ ที่ยังคงถือปฏิบัติกันอย่างทั่วไปในสังคม นอกจากนี้ เด็กเองก็อาจจะไม่ได้มองว่าพวกเขาเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือพวกเขาอาจจะเติบโตขึ้นมาในสังคมที่ทำให้พวกเขาไม่ทราบว่าพวกเขาสามารถแสดงบทบาทเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือก และพวกเขามีสิทธิในทางเลือกนั้น ประเด็นดังกล่าวนี้มักพบเห็นได้อย่างชัดเจนเป็นพิเศษกับเด็กผู้หญิง  เด็กพิการ  และเด็กที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง  เหตุผลเรื่องความปลอดภัยของเด็กไม่ควรเป็นสิ่งเดียวที่ถูกนำมาอ้างถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก เพราะในหลายครั้งประเด็นนี้ถูกนำมาอ้างอิงเพื่อออกกฎ ระเบียบหรือการตัดสินใจบางอย่างที่จำกัดสิทธิของเด็กในการแสดงออก

เด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

นับตั้งแต่ปี 2563 การออกมาเคลื่อนไหวของนักเรียน นักศึกษาในประเทศไทย เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีจำนวนมากกลายเป็นนักปกป้องสิทธิ ทั้งการแสดงความคิดเห็นต่อกฎระเบียบภายในโรงเรียน ต่อเจ้าหน้าที่รัฐ การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในนโยบายต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและประเด็นสาธารณะ เด็กจากทั่วประเทศได้พูดถึงระบบการศึกษา อำนาจนิยมในโรงเรียน สังคม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร กรณีการอุ้มหาย รวมไปถึงความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ มีการรวมกลุ่มนักเรียนขึ้นในแต่ละภูมิภาคในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม

เด็กผู้ปกป้องสิทธิที่ออกมาแสดงความคิดเห็นและเข้าร่วมการชุมนุมอย่างสงบทั้งในพื้นที่สถานศึกษา และพื้นที่สาธารณะมีเด็กผู้ปกป้องสิทธิจำนวนมากถูกคุกคามเพียงเพราะพวกเขาแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับขนบธรรมเนียมของผู้ใหญ่ การปฏิเสธกรอบทางวัฒนธรรมบางอย่างที่ถูกจำกัดไว้ นำมาซึ่งการถูกคุกคาม ถูกติดตาม ถูกทำร้ายร่างกายและถูกดำเนินคดีทางอาญา

ตัวอย่างเด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

ไครียะห์ ระหมันยะ (ยะห์) เด็กผู้หญิงจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ผู้ออกมาปกป้องสิทธิชุมชน

ตัวอย่างของเด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก

ถึงแม้จะมีเด็กทั่วโลกหลายคนที่สอดคล้องกับนิยามข้างต้นของเด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน แต่ในความเป็นจริงเด็กส่วนใหญ่ยังมีความแตกต่าง ไม่เพียงแค่พวกเขาไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และ/หรือไม่รู้ความหมายของสิทธิมนุษยชน แต่พวกเขาอยู่ในสังคมที่ผู้คนโดยทั่วไปไม่ยอมรับการแสดงความคิดเห็น หรือไม่ยอมให้คนคนหนึ่งพูดถึงสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังมีในหลายสังคมและบริบทที่คาดหวังให้เด็กไม่แสดงความคิดเห็นที่คัดค้านอำนาจของผู้ใหญ่ ความท้าทายจะยิ่งมากขึ้นในระบบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย อย่างไรก็ดี รัฐภาคี มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีด้านการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่มีผลบังคับในทุกประเทศ และยอมรับในสิทธิอันชอบธรรมของเด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน ทั้งที่ได้มีการแสดงบทบาทดังกล่าวแล้ว หรือบทบาทที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต แม้ว่าสภาวะทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของแต่ละรัฐ/พื้นที่อาจมีความแตกต่างกันมากก็ตาม

สิทธิที่จะได้รับการรับฟัง

เด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนสามารถใช้สิทธิอื่น ๆ เช่น สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (สิทธิในการชุมนุมอย่างสันติ) อย่างไรก็ตาม สิทธิในการถูกรับฟังของเด็กเป็นกุญแจสำคัญที่เด็กจะได้เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กเอง ปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชนให้การรับรองว่าการมีส่วนร่วมของเด็กในชีวิตสาธารณะถือเป็น “เรื่องที่ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กเอง” สิ่งนี้จึงช่วยให้เห็นชัดเจนว่ารัฐมีพันธกรณีที่จะเคารพและหนุนเสริมเด็กผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน และใส่ใจเรื่องที่เด็กสื่อสารอย่างจริงจังในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะ เช่น สิ่งแวดล้อม พื้นที่ทางสังคม ไม่ใช่เพียงแค่หัวข้อเฉพาะของสิทธิเด็ก

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องรัฐต่างๆ ให้

ที่มา: https://www.childrightsconnect.org/wp-content/uploads/2020/12/final-implementation-guide-the-rights-of-child-human-rights-defenders-forweb.pdf