AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

menu

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

แบ่งปัน

สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (Economic, Social and Cultural Rights)

สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมถูกรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในข้อ 22-27 และมีการรับรองและบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ซึ่ง

เป็นสนธิสัญญาพหุภาคีที่มีผลผูกพันทางกฎหมายกับรัฐที่เข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญา โดยรัฐภาคีจะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญานี้ด้วย   

สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม มีดังนี้

     สิทธิในการทำงาน ได้แก่ เสรีภาพจากการบังคับใช้แรงงานสิทธิในการตัดสินใจรับหรือเลือกงานได้อย่างเสรีสิทธิในการได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกันสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่ากันสิทธิในการพักผ่อน

และจำกัดเวลาทำงานที่เหมาะสม,   สิทธิในการมีสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัยสิทธิในการก่อตั้งหรือเข้าร่วมสหภาพแรงงาน และสิทธิในการนัดหยุดงาน

     สิทธิที่จะได้รับสวัสดิการและประกันสังคม ได้แก่  สิทธิที่จะไม่ถูกยกเลิกประกันสังคมสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ว่างงาน เจ็บป่วย ชราภาพ หรือขาดการดำรงชีพอื่น  ในสถานการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุม

     สิทธิในชีวิตครอบครัว ได้แก่ สิทธิในการสมรสแม่และเด็กต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษทั้งก่อน ระหว่าง และหลังคลอดบุตร,  การคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม

     สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ ได้แก่ สิทธิในการเข้าถึงอาหาร น้ำสะอาด เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอสิทธิที่จะปลอดจากความหิวโหย

     สิทธิในสุขภาพ ได้แก่ สิทธิที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขสิทธิที่จะได้รับการป้องกันจากโรคระบาดสิทธิที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์

     สิทธิในการศึกษา ได้แก่ สิทธิในการได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษาภาคบังคับแบบให้เปล่าสิทธิในการได้รับการศึกษาชั้นมัธยมและระดับอุดมศึกษาพ่อแม่หรือผู้ปกครองมีเสรีภาพในการเลือกโรงเรียนสำหรับ

เด็กของตน

     สิทธิทางวัฒนธรรม ได้แก่ สิทธิในการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการคุ้มครองผลประโยชน์ทางด้านศีลธรรมและทางวัตถุอันเกิดจากการผลิตทางวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม หรือ

ศิลปกรรมที่ตนเป็นผู้สร้างสรรค์    

ทำไมสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจึงสำคัญ

ความล้มเหลวในการปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมย่อมส่งผลเสียต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ทั้งหมด แม้แต่ในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่มั่งคั่งหรือมีอัตราการเจริญเติบโตทาง

เศรษฐกิจสูง ก็ยังมีบุคคลและกลุ่มคนจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับความยากจนและความไม่เท่าเทียม หรือดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ขาดการเข้าถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งความไม่เท่าเทียมทาง

เศรษฐกิจและสังคมนี้ยังมีผลกระทบต่อชีวิตทางการเมืองและการเข้าถึงความยุติธรรมอีกด้วย

การละเมิดสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ทั้งการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมยังสามารถเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งและทำให้การฟื้นฟู

ความขัดแย้งในสังคมเป็นไปได้ยาก เช่น การเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน การใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อ (propagandapropogandaการบังคับขับไล่กลุ่มคน หรือชนเผ่าพื้นเมืองออกจากถิ่น

เดิม เป็นต้น นอกจากนี้ การละเลยการปกป้องหรือการละเมิดสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมยังนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ เช่น  บุคคลยากไร้หรือคนไร้บ้านที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิทาง

เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจากรัฐ ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพออย่างสิทธิในที่อยู่อาศัย และมักจะไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการศึกษาและสิทธิในการทำงานด้วย ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มักจะไม่

ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองหรือใช้สิทธิในการแสดงออก เป็นต้น

นอกจากนี้ กลุ่มคนชายขอบ (marginalized group) เช่น คนพิการ สมาชิกชนกลุ่มน้อย ชนเผ่าพื้นเมือง ผู้พลัดถิ่น ผู้ลี้ภัย ผู้ขอลี้ภัย หรือแรงงานข้ามชาติ เป็นกลุ่มคนที่มักถูกเลือกปฏิบัติและถูกสังคมกีดกันเนื่องจากอัต

ลักษณ์ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง หรืออื่น  ไม่เหมือนคนส่วนใหญ่ในสังคมหรือสังคมกระแสหลัก ทำให้ถูกละเมิดสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมจากคนในสังคมและรัฐ กลุ่มคนเหล่านี้มักถูกรัฐมอง

ข้ามและทำให้ไม่ได้รับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิต เสียงของพวกเขามักจะไม่ได้ถูกสะท้อนในกฎหมาย นโยบายสาธารณะหรือการพัฒนาของรัฐ โดยนโยบายสาธารณะมักจะ

สะท้อนเสียงและความต้องการของผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองโดยเฉพาะในการเลือกตั้ง รัฐมักปกป้องสิทธิทางสังคมและตอบสนองความต้องการของชนชั้นกลาง และออกนโยบายเศรษฐกิจที่ตอบสนองต่อ

ความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมหรือนายทุน    

เด็กคนหนึ่งจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถขับเคลื่อนประเทศได้อย่างไร หากไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่ได้รับอาหารที่มีสารอาหารเพียงพอต่อความสมบูรณ์ของร่างกาย ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการมีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ได้

รับสิทธิในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกเลือกปฏิบัติในการจ้างงานหรือไม่ได้รับค่าแรงที่เหมาะสม ถูกเลือกปฏิบัติหรือไม่ถูกยอมรับในวัฒนธรรม ไม่ได้รับสื่อและไม่สามารถใช้ภาษาที่ตนเข้าใจ (ภาษาของชนกลุ่มน้อยหรือชน

เผ่าพื้นเมืองในการสื่อสารกับสังคมและรัฐ ดังนั้น สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในฐานะสิทธิมนุษยชนจึงมีความสำคัญต่อทุกคน ทั้งต่อการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ต่อการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทาง

เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศ และต่อระบอบประชาธิปไตย 

กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 

     ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights, 1948)

     อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD, 1965)

     กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR, 1966)

     อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women – CEDAW, 1979)

     อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC, 1989)

     อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกครอบครัว (Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Member of their Families – CMW, 1990)

     อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities – CRPD, 2006)

กลไกระดับภูมิภาค (Regional Mechanisms)

Americas

     American Convention on Human Rights (1969) 

     Additional Protocol to the American Convention on Human Rights in the Area of Economic, Social and Cultural Rights (Protocol of San Salvador) (1988)

African system 

     The African Commission on Human and Peoples’ Rights 

     The African Court on Human and Peoples’ Rights 

     African Charter on Human and Peoples’ Rights (1981) 

     African Charter on the Rights and Welfare of the Child (1990) 

      Protocol to the African Charter on Human and Peoples’ Rights on the Rights of Women in Africa (2003) Europe

Council of Europe 

     The European Committee of Social Rights 

Inter-American System 

     The Inter-American Commission on Human Rights 

     The Inter-American Court of Human Rights

Europe

     European Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms (1950) 

      European Social Charter (1961) and revised European Social Charter (1996)[1] 

สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ต่างกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองหรือไม่?

 ไม่แตกต่าง

การทำให้สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเกิดขึ้นได้จริง ต้องอาศัยการกระทำและไม่กระทำจากรัฐ กล่าวคือ รัฐจะต้องใช้เงิน ทรัพยากรที่รวมไปถึงทรัพยากรบุคคลจำนวน

มากในการที่จะทำให้สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเกิดขึ้นจริง ในขณะเดียวกัน การไม่แทรกแซงเสรีภาพของปัจเจกโดยรัฐก็จำเป็นต่อสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เช่น การจัดตั้งหรือเข้าร่วม

สหภาพแรงงาน หรือเสรีภาพของบุคคลในการเลือกงาน สิทธิในการเลือกโรงเรียนให้บุตร สิทธิในการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม เป็นต้น และเมื่อเราพูดถึงสิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เรามักนึกถึงหน้าที่ของรัฐ

ในการไม่แทรกแซงเสรีภาพของปัจเจกเพื่อทำให้สิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเกิดขึ้นจริง นอกจากการละเว้นการกระทำของรัฐ สิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้นต้องการการลงทุนเช่นเดียวกับสิทธิทาง

เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบศาล เรือนจำที่มีสภาพแวดล้อมและมาตรฐานขั้นต่ำที่เอื้อต่อการในการใช้ชีวิตสำหรับผู้ต้องขัง การเลือกตั้งที่เป็นธรรมและเสรี เป็นต้น

นอกจากนี้ สิทธิทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมบางครั้งถูกอ้างว่าคลุมเครือหรือไม่ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และถึงแม้ว่าสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมบางประการจะไม่

ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนในสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน แต่ก็มีผลบังคับใช้เช่นเดียวกันกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น

สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

สิทธิในการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมสิทธิที่จะปลอดจากความหิวโหย

สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการรัฐสิทธิที่จะไม่ถูกทรมานหรือได้รับการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี 

เราจะเห็นได้ว่าสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และสิทธิทางสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองถูกบรรจุอยู่ในสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนฉบับเดียวกันหลายฉบับ แสดงให้เห็นได้ว่าสิทธิมนุษยชนทั้งหมดนั้นเชื่อม

โยงกัน ไม่สามารถแบ่งแยกจากกันได้  เช่น บุคคลที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ มักจะเข้าถึงการจ้างงาน หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง หรือใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกได้ยากขึ้น เป็นเต้น

สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เป็นสิทธิมนุษยชน

(Economic, social and cultural rights are human rights)

สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมมีผลบังคับใช้ในระหว่างภาวะฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และความการขัดแย้งทางด้านกันด้วยอาวุธ (emergencies, disasters and armed conflict) หรือไม่?

มีผลบังคับใช้ 

ไม่มีข้อความใดในกฎหมายระหว่างประเทศที่อนุญาตให้รัฐเลี่ยงพันธกรณี (derogate) ต่อสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในระหว่างภาวะฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และความขัดแย้งทางการขัดกันด้วยอาวุธ ทั้งนี้ รัฐควรให้

ความสำคัญกับในการปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในสถานการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มคนชายขอบ 

รัฐมีหน้าที่ต่อสิทธิทางเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรมอย่างไรบ้าง 

กติกาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ได้กำหนดพันธกรณี (obligations) ของรัฐภาคี โดยให้รัฐภาคีดำเนินการใด  โดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้สิทธิที่ถูกรับรองในกติกานี้เกิดขึ้น

จริงอย่างสมบูรณ์อย่างเป็นโดยลำดับ (progressively the full realization) ซึ่งหมายความว่า การทำให้สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมบางประการเกิดขึ้นจริงอย่างสมบูรณ์ อาจไม่สามารถดำเนินการได้ในระยะ

เวลาสั้น  ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด รัฐจึงต้องดำเนินการอย่างเหมาะสม รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อให้สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นจริงอย่างเป็นโดยลำดับ โดยไม่สามารถอ้างว่าขาดแคลนทรัพยากรและไม่ปฏิบัติ

หรือเลื่อนการดำเนินการเพื่อให้บรรลุสิทธิเหล่านี้ออกไปอย่างไม่มีกำหนด รัฐต้องประกันว่าทุกคน โดยเฉพาะคนยากจน คนชายขอบและผู้ด้อยโอกาส จะได้รับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมขั้นต่ำ แม้ในภาวะ

ขาดแคลนทรัพยากร

นอกจากนี้ รัฐต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ เพื่อให้สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเกิดขึ้นจริงในทันที (Immediate Implementation) โดยไม่คำนึงถึงทรัพยากรที่มี:

1.     การขจัดการเลือกปฏิบัติ (The elimination of discrimination) เช่น การขจัดการเลือกปฏิบัติในการรับบริการสาธารณสุข การเข้าถึงการศึกษาหรือในสถานที่ทำงาน และการขจัดการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ชาติกำเนิด สถานะทางเศรฐกิจและสังคม ความพิการหรือสถานะอื่น  เป็นต้น

2.    สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่ต้องได้รับการคุ้มครองโดยทันที โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก หรือใช้ทรัพยากรแต่ต้องทำให้เกิดขึ้นจริงในระยะเวลาอันสั้น ได้แก่

     การประกันสิทธิอันเท่าเทียมของหญิงและชายในการใช้สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมทั้งปวง (มาตรา 3) 

     ทุกคนต้องได้รับสิทธิในการได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมและค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่ากัน (มาตรา 7 (a)(1)) 

     ประกันสิทธิในการก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน และสิทธิที่จะนัดหยุดงาน (มาตรา 8) 

     คุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงออกกฎหมายที่กำหนดอายุขั้นต่ำซึ่งห้ามไม่ให้มีการจ้างแรงงานเด็ก และกำหนดให้การว่าจ้างให้เด็กให้ทำงานซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตมีโทษตามกฎหมายด้วย (มาตรา 10(3))

     รับรองให้การศึกษาระดับขั้นประถมเป็นการศึกษาภาคบังคับและจัดให้ทุกคนแบบให้เปล่า (มาตรา 13 (2)(a))

     เคารพเสรีภาพของพ่อแม่ และผู้ปกครองตามกฎหมายในการเลือกโรงเรียนสำหรับเด็ก และเคารพเสรีภาพของปัจเจกหรือองค์กรในการจัดตั้งสถาบันการศึกษา (มาตรา 13 (3), 13 (4))

     เคารพเสรีภาพที่จำเป็นสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และกิจกรรมสร้างสรรค์ (มาตรา 15 (3))

3.    มาตรฐานขั้นต่ำของแก่นพันธกรณี (minimum core obligations) หรือพันธกรณีที่มีผลในทันทีเพื่อให้ทุกคนได้รับมาตรฐานขั้นต่ำที่จำเป็นในการได้รับสิทธิ รัฐจะต้องแสดงให้เห็นว่าได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อตอบสนองต่อการดำเนินการตามพันธกรณี และถึงแม้รัฐจะมีทรัพยากรไม่เพียงพอ รัฐจะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพโดยจัดลำดับความสำคัญให้แก่ผู้ที่ต้องการการเข้าถึงสิทธิเหล่านี้ก่อน ได้แก่ 

     สิทธิในการเข้าถึงการจ้างงาน โดยเฉพาะคนด้อยโอกาส หรือกลุ่มคนชายขอบ เพื่อให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี

     สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย และสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัยและเพียงพอต่อการดำรงชีพ

     สิทธิในการเข้าถึงมาตรฐานการครองชีพ ที่อยู่อาศัย และการเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาด

     การศึกษาภาคบังคับแบบให้เปล่าในระดับประถมศึกษาเป็นต้น

นอกจากนี้ พันธกรณีของรัฐอาจจำแนกได้เป็น 3 หน้าที่หลัก ได้แก่

1.    เคารพ (Respect) กฎหมาย นโยบาย มาตรการ และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

2.    ปกป้อง (Protect) รัฐจะต้องมีกฎหมาย นโยบาย มาตรการในการดูแล การป้องกันไม่ให้กลุ่มหรือบุคคลใดที่ไม่ใช่รัฐละเมิดสิทธิมนุษยชน

3.    เติมเต็ม (Fulfill) รัฐจะต้องออกกฎหมาย ดำเนินนโยบาย หรือใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อทำให้สิทธินั้นเกิดขึ้นจริง

ตัวอย่างพันธกรรีของรัฐภาคีต่อสิทธิทางเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม

สิทธิในการทำงาน 

     เคารพรัฐจะต้องไม่ใช้แรงงานบังคับ หรือกีดกันโอกาสการทำงานของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

     ปกป้องรัฐต้องรับประกันว่า นายจ้างทั้งในภาครัฐและเอกชนจะจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ

     เติมเต็มรัฐต้องส่งเสริมการใช้สิทธิในการทำงาน เช่น การดำเนินโครงการด้านการศึกษาและให้ข้อมูลเพื่อปลูกฝังให้สาธารณชนมีความตระหนักรู้ในสิทธิดังกล่าว

สิทธิในสุขภาพ

     เคารพรัฐต้องไม่ปฏิเสธการเข้าถึงสถานบริการด้านสุขภาพบนพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติ

     ปกป้องรัฐต้องควบคุมคุณภาพยาที่จำหน่ายในประเทศโดยผู้จัดจำหน่ายทั้งภาครัฐและเอกชน

     เติมเต็มรัฐต้องอำนวยความสะดวกในการให้บุคคลได้รับสิทธิด้านสุขภาพ เช่น การรณรงค์การฉีดวัคซีนให้เด็กอย่างทั่วถึง

สิทธิในการศึกษา

     เคารพรัฐต้องเคารพเสรีภาพของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนให้บุตรหลานของตน

     ปกป้องรัฐต้องรับประกันว่าบุคคลที่สาม หรือผู้ปกครองจะไม่ห้ามเด็กผู้หญิงไม่ให้ไปโรงเรียน

     เติมเต็มรัฐจะต้องใช้มาตรการเชิงบวกเพื่อประกันว่า การศึกษาจะมีความเหมาะสมทางวัฒนธรรมสำหรับชนกลุ่มน้อยและชนเผ่าพื้นเมือง และเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพที่ดีสำหรับทุกคน