สิทธิมนุษยชนศึกษาได้ถูกประกาศในทศวรรษสิทธิมนุษยชนศึกษาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Decade for Human Rights Education – UNDHRE, 1995-2004) เพราะองค์การสหประชาชาติเล็งเห็นถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนศึกษาที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างศักยภาพ หนุนเสริม และป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ในระยะยาว โดยการประกาศทศวรรษฯเป็นช่องทางการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในหลายระดับตั้งแต่ท้องถิ่น ประเทศ และภูมิภาค โดยในวันที่ 10 ธันวาคม 2004 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ประกาศแผนปฏิบัติการระดับโลกด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา หรือ World Programme for Human Rights Education (2005 – ปัจจุบัน) เพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามโครงการด้านสิทธิมนุษยชนโดยมุ่งส่งเสริมความเข้าใจร่วมกันในหลักการพื้นฐานและสิทธิมนุษยชนศึกษา เพื่อจัดทำกรอบการทำงานที่เป็นรูปธรรมสำหรับการดำเนินการ และเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือจากระดับนานาชาติลงไปจนถึงระดับรากหญ้า โดยจะเป็นแผนปฏิบัติการที่ต่อเนื่อง และมีการวางกรอบระยะเวลาระยะละ 4 ปีดังนี้
ในปี 2011 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้ให้การรับรอง ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนศึกษาและการฝึกอบรม (United Nations Declaration on Human Rights Education and Training – UNDHRET) เพื่อกำหนดนิยาม องค์ประกอบ แนวปฏิบัติของสิทธิมนุษยชนศึกษาและการฝึกอบรม และหน้าที่ของรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศทั้งในระดับสากลและระดับภูมิภาค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนต่อสิทธิมนุษยชนศึกษา
หลักการสำคัญของปฏิญญานี้ ได้แก่
โดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเองก็มีการทำงานที่มุ่งเน้นสิทธิมนุษยชนศึกษาในหลายระดับและพื้นที่ สิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นทั้งเครื่องมือในการทำความเข้าใจประเด็นสิทธิมนุษยชนและการขับเคลื่อนงานรณรงค์สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนศึกษาในแอมเนสตี้ คือ กระบวนการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสิทธิมนุษยชน โดยยึดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) กฎกติกา และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมเข้าใจบริบทและปัญหาในสังคมมากขึ้นผ่านมุมมองด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนศึกษายังรวมถึงการถ่ายทอดและฝึกฝนทักษะใหม่ๆ ให้กับผู้ที่สนใจ เพื่อให้สามารถนำไปเผยแพร่และต่อยอดสำหรับการณรงค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบองค์รวมได้อีกด้วย ในหลายประเทศทั่วโลก สิทธิมนุษยชนศึกษาถูกใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นรากฐานของสังคมที่ยุติธรรมและเท่าเทียม นั่นเป็นเหตุผลหลักว่าทำไมเราจึงนำสิทธิมนุษยชนศึกษาเข้ามาทำกับเยาวชนไทย
กิจกรรมในกระบวนการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษานี้มักมุ่งเน้น