AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

menu

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

แบ่งปัน

นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

นักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defenders)

การปราบปรามของรัฐต่อบุคคลที่แสดงความคิดเห็น บุคคลที่ตั้งคำถาม บุคคลที่ทำงานและเคลื่อนไหวในประเด็นสิทธิมนุษยชน การจำกัดสิทธิมนุษยชนโดยพลการ การฟ้องร้องดำเนินคดีโดยใช้ข้อหาทางอาญาต่อผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์การดำเนินงานของรัฐบาลอย่างเปิดเผย การคุกคามโดยเจ้าหน้าที่เพื่อกดดันไม่ให้กลุ่มบุคคลกล้าออกมาวิพากษ์วิจารณ์หรือข้องเกี่ยวกับการรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเราเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่า “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือ Human Rights Defenders”

แล้วนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคือใคร?: ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติ หรือ United Nation (UN) ระบุว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนคือคนที่ทำงานหรือเคลื่อนไหวในลักษณะต่อไปนี้[1]

ทั้งนี้ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนจะเป็นใครก็ได้ ตั้งแต่นักข่าว ทนายความ อาจารย์ นักกิจกรรม ผู้นำชุมชน นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงชาวไร่ชาวนาและคนธรรมดาทั่วไปที่กล้าลุกขึ้นมาทำและต่อสู้เพื่อส่วนรวม พวกเขาเหล่านี้คือฟันเฟืองสำคัญของทุกสังคมที่ช่วยให้สังคมเข้มแข็งและเท่าเทียมกันมากขึ้น

แต่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลับถูกปิดกั้นเสรีภาพ และการทำงานของพวกเขาหลายครั้งจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือทำให้ผู้มีอำนาจจากการกดขี่ประชาชนเสียผลประโยชน์ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนจึงข่มขู่ คุกคามอย่างหนักจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่เสียผลประโยชน์ ถูกทำร้ายร่างกาย ฟ้องร้องดำเนินคดี กักขังหน่วงเหนี่ยว ไปจนถึงถูกทรมาน บังคับให้สูญหายหรือแม้กระทั่งถูกสังหาร นอกจากนี้ กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนใน หลายประเทศยังสอดแนมการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างใกล้ชิด ไปจนถึงการปล่อยข่าวเท็จ (Fake news) เพื่อพยายามทำลายชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของพวกเขาด้วย

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 ฉันทามติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคลและองค์กรของสังคมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างสากล (Declaration on the Right and Responsibility of Individuals, Groups and Organs of Society to Promote and Protect Universally Recognized Human Rights and Fundamental Freedoms) หรือที่เรียกกันว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration on Human Rights Defenders) ซึ่งปฏิญญาฉบับนี้เกิดจากการรวบรวมและสะท้อนความคิดด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุน คุ้มครองและปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน[2]

สมัชชาใหญ่สหประชาชาติยอมรับบทาทของความร่วมมือระหว่างประเทศ ผลงานที่มีคุณค่าของปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคลและสมาคมทั้งหลายที่ส่งผลให้เกิดการขจัดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งปวงของประชาชาติและปัจเจกบุคคล รวมถึงการละเมิดอย่างเป็นระบบที่รุนแรงและกว้างขวาง อีกทั้งยังย้ำว่าสมาชิกของประชาคมระหว่างประเทศทั้งปวงต้องดำเนินการโดยร่วมกันและแยกกันในการปฏิบัติตามพันธกรณีอย่างจริงจังเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานสำหรับทุกคนโดยปราศจากการแบ่งแยกทั้งปวง ที่มีพื้นฐานจากเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรืออื่นๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติและสังคม ทรัพย์สิน สถานะการเกิดหรืออื่นใด และยืนยันถึงความสำคัญอย่างยิ่งในการให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎบัตรให้เป็นจริง[3]

ปฏิญญาฉบับนี้ได้ระบุถึงสิทธิและความคุ้มครองที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนพึงมี เช่น การก่อตั้งสมาคมและองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ[4] การพบปะหารือและชุมนุมอย่างสงบ และแสวงหา จัดหา รับข้อมูลและรักษาไว้ซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักสิทธิมนุษยชน[5] วิพากษ์วิจารณ์และจัดทำข้อเสนอให้แก่ผู้มีอำนาจเพื่อปรับปรุงการทำงานและเฝ้าเตือนภัยคุกคามต่อหลักสิทธิมนุษยชน[6] และได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายเมื่อยืนหยัดคัดค้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างสงบ[7] เป็นต้น

ปฏิญญาฉบับนี้ยังได้ระบุถึงหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครอง สนับสนุนและดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนทั้งมวล ประกันว่าบุคคลที่อยู่ในเขตอำนาจของรัฐจะได้ใช้ชีวิตตามหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างเต็มที่ทุกประการ[8] จัดหามาตรการเยียวยาที่มีประสิทธิผลสำหรับบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชน[9] รวมถึงเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมให้แก่สาธารณะ[10] และหน้าที่อื่นๆ ที่รัฐควรดำเนินการเพื่อพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนตามที่บัญญัติไว้ในปฏิญญาฉบับนี้[11] อีกทั้งบุคคลและประชาชนเองก็มีหน้าที่ในการส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน ปกป้องประชาธิปไตยและสถาบันทางประชาธิปไตยต่างๆ และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น[12] ซึ่งระบุไว้ในปฏิญญาฉบับนี้เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้มีอำนาจหรือผู้ที่เสียผลประโยชน์จากการเคลื่อนไหวหรือการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนก็ยังคงข่มขู่ คุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างการคุกคามในประเทศไทยที่ผู้มีอำนาจหรือ ผู้ที่เสียผลประโยชน์มักใช้คือรูปแบบที่เราเรียกว่า การฟ้องปิดปาก หรือการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation – SLAPP) ซึ่งก็คือการฟ้องคดีเพื่อปิดปากบุคคลที่ออกมาแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน หรือการออกมามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของประชาชนหรือชุมชน[13] การฟ้องปิดปากมักจะเป็นคดีที่ไม่มีมูลเหตุ ถูกออกแบบมาให้มีความซับซ้อน กินระยะเวลายาวนาน และเสียค่าใช้จ่ายราคาแพงสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น หากจำเลยไม่มีฐานะทางการเงินเพียงพอที่จะสู้คดีของตน พวกเขาก็ไม่มีทางเลือกและจำต้องยอมรับข้อเรียกร้องของโจทก์ ซึ่งมักจะมาในรูปของ การชดใช้ค่าเสียหาย การขอโทษ หรือการลบข้อความที่ถือว่าละเมิด[14]

ในประเทศไทย ปราฏการณ์การฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAPPs เริ่มเกิดขึ้นหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีผลใช้บังคับ แต่เพิ่มมากขึ้นภายหลังปี 2556 ส่วนใหญ่พบในคดีที่เกี่ยวพันกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิแรงงานและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทหรือกลุ่มทุนมักเป็นโจทก์ในการฟ้องคดีนักวิจัย นักเคลื่อนไหว หรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการดำเนินงานของบริษัท ตกเป็นจำเลยในความผิดฐานบุกรุกหรือฐานหมิ่นประมาทจากการเผยแพร่รูปภาพหรือข้อความอันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสียชื่อเสียง หลังจากการรัฐประหารในช่วงกลางปี 2557 เป็นต้นมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้ออกประกาศและคำสั่งหลายฉบับซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินคดีกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งจัดกิจกรรมทางการเมือง หรือผู้ที่แสดงความคิดเห็นต่อต้าน คสช.[15]

ในปี 2562 รายงานการวิจัยเรื่อง “รายงานข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะจากการถูกฟ้องคดี” จากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้เผยให้เห็นจำนวนคดีการฟ้องปิดปากที่เพิ่มสูงขึ้นในไทย เป็นแนวโน้มที่น่ากังวลเพราะไม่ใช่แค่ความพยายามปิดปากเฉพาะประชาชนที่ถูกฟ้องร้องเท่านั้น แต่ยังเป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการพูดที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก สถานการณ์ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ หลังจากการรัฐประหารในปี 2557 เนื่องจากกองทัพสร้างและใช้กฎหมายเพื่อปกป้องกลุ่มผู้มีอำนาจและกดขี่กลุ่มผู้ที่อ่อนแอ รวมถึงให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของบรรษัทและรัฐบาลมากกว่าประโยชน์สาธารณะ

ตามที่ระบุในรายงานวิจัย “พบว่าร้อยละ 95 ของคดีฟ้องปิดปากในประเทศไทย เป็นคดีอาญา และผู้ที่เป็นจำเลยส่วนใหญ่ คือ ประชาชนทั่วไป นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและอาสาสมัคร (39%) ผู้แทนชุมชนและแรงงาน (23%)  นักปกป้องสิทธิมนุษยชน (16%) และนักข่าว (9%) และกิจกรรมหลักที่เป็นสาเหตุสำคัญของการฟ้องร้องคือการแสดงความเห็นออนไลน์ (25%)”[16]

การดำเนินคดีเหล่านี้คุกคามสาธารณชนให้เกิดความหวาดกลัวไม่ให้ส่งเสียงเรียกร้อง การดำเนินคดีปิดปากจึงมีผลกระทบในวงกว้างต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงออกในสังคมไทย ดังนั้น การยกเลิกความผิดในคดีหมิ่นประมาท (ในฐานะการฟ้องคดีเพื่อปิดปาก) จึงส่งผลดีต่อสาธารณะและช่วยเสริมสร้างอำนาจให้คนธรรมดาสามารถส่งเสียงแสดงออกในประเด็นที่มีความสำคัญได้

[1] https://www.amnesty.or.th/our-work/human-rights-defenders/ (เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565)

[2] https://www.ohchr.org/sites/default/files/Documents/Issues/Defenders/Declaration/summaries/thai.pdf (เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565)

[3] https://www.ohchr.org/sites/default/files/Documents/Issues/Defenders/Declaration/Thai_Declaration.pdf (เข้มถึงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565)

[4] ข้อที่ 5 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน สามารถอ่านบทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ…. (ร่างฯ เสนอคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2

เพื่อพิจารณาในวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564)

[5] ข้อที่ 6 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

[6] ข้อที่ 8 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

[7] ข้อที่ 12 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

[8] ข้อที่ 2 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

[9] ข้อที่ 9 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

[10] ข้อที่ 14 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

[11] https://www.ohchr.org/sites/default/files/Documents/Issues/Defenders/Declaration/summaries/thai.pdf (เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565)

[12] ข้อที่ 10 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

[13] https://ilaw.or.th/node/4824 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565)

[14] https://freedom.ilaw.or.th/blog/slappreport (เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565)

[15] https://tlhr2014.com/archives/5257 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565)

[16] https://www.tcijthai.com/news/2019/29/current/9614#google_vignette (เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565)