ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ปี 2565 ภาคประชาสังคมและนักเคลื่อนไหวต้องเผชิญกับการสลายการชุมนุมประท้วงในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ส่งผลให้มีผู้ถูกตั้งข้อหา พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ 26 คน มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 13 ราย
.
และวันที่ 7 ธันวาคม 2565 นี้ เวลา 14:00 – 16:40 น. ขอชวนคุณร่วมรับฟัง และให้ความเห็น วิเคราะห์สถานการณ์การชุมนุม ภายใต้มาตรฐานสิทธิมนุษยชน ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการชุมนุม ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย: FCCT
.
โดยภาคประชาสังคม ร่วมโดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และแอมเนสตี้ ประเทศไทย ได้บันทึกการสอดแนม คุกคามและติดตาม ภาคประชาสังคมและนักกิจกรรม ก่อนการชุมนุมประท้วงระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ที่กรุงเทพฯ และการสลายการชุมนุมในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565
.
ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ปี 2565 ภาคประชาสังคมและนักเคลื่อนไหวต้องเผชิญกับการสลายการชุมนุมประท้วงในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ส่งผลให้มีผู้ถูกตั้งข้อหา พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ 26 คน ตำรวจ มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 13 ราย จากการที่เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมอย่างรุนแรงด้วยการเข้าจับกุมและสลายการชุมนุม ทั้งการยิงกระสุนยาง รุมกระทืบ และอื่น ๆ
.
ในจำนวนผู้ถูกจับกุมที่ได้รับบาดเจ็บ 13 รายนี้ มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส อย่างน้อย 5 ราย ในจำนวนนี้รวมถึง พายุ ดาวดิน นักเคลื่อนไหวได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมจนดวงตาด้านขวาสูญเสียการมองเห็น และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมวัย 17 ปีบอบช้ำจากเหตุสลายการชุมนุม
.
นอกจากนี้ ก่อนการประท้วง ภาคประชาสังคมต้องเผชิญกับการติดตาม การเฝ้าระวัง การข่มขู่ และการคุกคามทางออนไลน์และออฟไลน์มากมาย จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) มีคนอย่างน้อย 58 คนที่ถูกข่มขู่และคุกคามโดยรัฐบาล รวมทั้ง นักกิจกรรมทางการเมือง และคนที่ทำงานในภาคประชาสังคมได้รับข้อความจาก Facebook ว่า “การแจ้งเตือนผู้โจมตีที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้โจมตีที่ซับซ้อน”
.
🗓 วันที่ 7 ธันวาคม 2565 นี้ เวลา 14:00 – 16:40 น.
📍ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย: FCCT