AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

menu

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

AMNESTY

เราคือขบวนการของคนธรรมดามากกว่า

10 ล้าน คนทั่วโลก

ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน

แบ่งปัน

12 มีนาคม 2565 ครบรอบ 18 ปี ทนายสมชายหายตัวไป

 

กลางดึกของคืนวันที่ 11 มีนาคม 2565 ก่อนจะเข้าสู่วันที่ 12 มีนาคม นักกิจกรรมและสมาชิกแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ ทั่วทุกภูมิภาคร่วมกันแสดงพลังใน วันครบรอบ 18 ปี การถูกบังคับให้สูญหายของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน “ทนายสมชาย นีละไพจิตร” ผ่านการติดโปสเตอร์รณรงค์เพื่อแสดงพลังในการยืนหยัดเคียงข้างนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกละเมิดสิทธิ อย่างร้ายแรงและเรียกร้องให้รัฐหรือผู้มีอำนาจคืนความเป็นธรรมแก่ครอบครัวของผู้เสียหายจากการถูกบังคับให้สูญหายอย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นเวลา 18 ปีแล้วที่ครอบครัวทนายสมชาย ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปอย่างไม่ทราบชะตากรรม และไม่มีแม้กระทั่งหลุมศพให้รำลึกถึง อังคณา นีละไพจิตร กล่าวว่า “การบังคับสูญหายไม่เพียงพรากใครบางคนไปตลอดกาล แต่ทำให้คนที่มีชีวิตอยู่เหมือนตายทั้งเป็น … ในขณะที่ปัญหาของรัฐเผด็จการ คือ ความกลัว แต่ในขณะที่กลัว รัฐก็มีอำนาจและอาวุธต่างๆ มากมาย และเจ้าหน้าที่รัฐบางคนก็ไม่เคยกลัวที่จะใช้มันเพื่อกำจัดคนที่บังอาจท้าทายอำนาจอันมิชอบของพวกเขา … การบังคับบุคคลสูญหายจึงมักเกิดขึ้นในบริบทนี้”

การค้นหาความจริงและความยุติธรรมกรณีการถูกบังคับให้สูญหายของทนายสมชาย นีละไพจิตร ถือเป็น ‘บททดสอบสำคัญ’ ในแง่ของการเคารพสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รวมทั้งการให้การเยียวยาและการชดเชยเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความจริงใจหรือความสามารถของทางการไทยในการแก้ปัญหาลอยนวลพ้นผิดของผู้ที่ละเมิดสิทธิ มนุษยชน ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศด้วย

อังคณา นีละไพจิตร กล่าวเสริมว่า “18 ปีที่ชะตากรรมของสมชายยังคลุมเครือ 18 ปีที่รัฐปฏิเสธความรับผิดชอบ 18 ปีที่ผู้กระทำผิดยังคงลอยนวล 18 ปีที่การอุ้มหายยังไม่เป็นอาชญากรรมในประเทศไทย และกว่า 18 ปีที่รัฐยังใช้วิธีการอุ้มฆ่าผู้เห็นต่าง … สังคมไทยจะอดทนได้อีกกี่ปีเพื่อยุติอาชญากรรมนี้”

สมชาย นีละไพจิตร เป็นประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม เป็นรองประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และเป็นคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายสภาทนายความ ก่อนหายตัวไป “ทนายสมชาย” ว่าความให้ประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ที่อ้างว่าถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้รับสารภาพ จนกระทั่งในคืนวันที่ 12 มีนาคม 2547 ไม่มีใครพบทนายสมชายอีกเลยหลังจากที่แยกตัวกับเพื่อนทนาย ย่านรามคำแหง

หลังจากนั้นไม่นาน อัยการและครอบครัวนีละไพจิตรเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นตำรวจ 5 นาย โดย 1 ในนั้นคือตำรวจที่ลูกความของทนายสมชายกล่าวหาว่ากระทำการทรมานผู้ต้องสงสัย ในวันที่ 29 ธันวาคม 2558 ศาลฎีกาตัดสินยกฟ้องคดีต่อตำรวจทั้ง 5 นาย โดยระบุว่าพยานหลักฐานขาดความน่าเชื่อถือ พร้อมกับไม่อนุญาตให้คุณอังคณาและลูกๆ เป็นโจทก์ร่วม จนถึงทุกวันนี้ชะตากรรมของทนายสมชาย ยังคงคลุมเครือและครอบครัวยังคงไม่ได้รับการเยียวยาทางกฎหมายจากกรณีนี้