“พิธีกรรมของชาวปกาเกอะญอนั้นเชื่อมโยงกับการเกิดแก่เจ็บตาย พอเกิดมา สายสะดือของลูกจะถูกตัดใส่กระบอกไม่ไผ่ และผูกเลือกต้นไม้ให้กลายเป็นต้นไม้ประจำตัว โดยจะไม่มีการไปตัดของกันและกัน มันผิดมากถ้าไปตัดต้นไม้ที่เป็นสายสะดือหรือว่าสายสะดือฝังใต้ต้นให้เติบโตและกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ “พวกเขาจะดูแล บวชป่า ทำแนวกันไฟ ทำระบบผลิตที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่ามากที่สุดแล้วก็ดูแลป่าในรอบปีไป เก็บหาของป่า เก็บหน่อไม้ แล้วก็ดูแลในแบบที่มีการลาดตะเวนไปในตัว เจออะไรผิดสังเกตพวกเขาก็จะใช้ประชาคมชุมชน บอกว่ามีสถานการณ์บางอย่างเกิดขึ้นให้รีบดูแลแก้ไข นี่เป็นการอธิบายว่าหลายสิบปีมานี้ทรัพยากรธรรมชาติและผืนป่ามันก็เลยยังคงอยู่” เกรียงไกร ชีช่วง ผู้ประสานงานเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
ตลอดหลายทศวรรษแห่งความพยายามจะกลับบ้าน เพื่อหวนคืนสู่ใจแผ่นดิน ชาวบางกลอยยังคงเผชิญหน้ากับการถูกดำเนินคดีฐานบุกรุกป่าและถูกจับกุม รวมถึงการบังคับโยกย้ายลงมาจากบางกลอยบน และไม่มีที่ดินทำกินมากเพียงพอ โดยได้รับการจัดสรรพื้นที่อยู่ที่ 7 ไร่ 3 งาน สิ่งนี้ส่งผลให้ความมั่นคงทางอาหารจากการทำไร่หมุนเวียนและวัฒนธรรมของชาวปกาเกอะญอในพื้นที่บางกลอยหายไป ประชาชนชาวบางกลอยต้องออกมารับจ้างและเผชิญกับผลกระทบในช่วงโควิด บ้างต้องบริโภคอาหารแห้งจากการบริจาค จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
ปัจจุบัน ชาวบางกลอยยังมุ่งหน้าต่อสู้เพื่อที่วันหนึ่งจะได้คืนสู่ใจแผ่นดินอีกครั้ง ในนาม “บางกลอยคืนถิ่น”
และระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2565 แอมเนสตี้พร้อมกับชาว #ค่ายทะลุด่าน ได้ไปเรียนรู้ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในบางกลอย โดยในระหว่างนี้ เราขอชวนคุณย้อนอ่านเรื่องราวของบางกลอยผ่าน ไทม์ไลน์ ในอินโฟกราฟิก และย้อนอ่านบทความถอดบทเรียนจาก Twitter Space “ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจปกาเกอะญอ”
Gentle Reminder!