นั่นคือภาพที่แอมเนสตี้ ประเทศไทย มองเห็นในอนาคต Training of Trainers (ToT) จึงเกิดขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน ผ่านเครือข่ายนักกิจกรรม นักกระบวนกร ครู อาจารย์ รวมไปถึงภาคประชาสังคมเพื่อการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชน
กระบวนการจัดอบรมจะเน้นทั้งการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ฝึกฝนทักษะการจัดการอบรม แบ่งปันประสบการณ์ ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการเสริมสร้างเครือข่าย ผู้ที่เข้าร่วม Training of Trainers มีตั้งแต่เครือข่ายนักกิจกรรม ครู อาจารย์ ภาคประชาสังคม ไปจนถึงบุคคลที่สนใจร่วมเรียนรู้จากทั่วประเทศ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร “จากครูสู่ผู้ปกป้องเด็ก” ในปี 2564 เป็นตัวอย่างการจัด Training of Trainers ร่วมกับเครือข่ายก่อการสิทธิเด็ก ให้กับครูหลายระดับชั้นจากทุกภูมิภาคที่ให้ความสนใจสมัครเข้ามา จัดในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ 4 ประเด็นหลักที่ทำให้เกิดความเข้าใจเบื้องต้นในประเด็นสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนศึกษา สิทธิเด็ก และความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ โดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละหัวข้อ ทำให้แกนนำครูเหล่านี้มีความรู้และทักษะในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่เป็นมิตรกับสิทธิมนุษยชน เตรียมความพร้อมในการรับมือกับการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนรูปแบบต่าง ๆ ทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง รวมถึงยังมีการอบรมสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก และสิทธิเด็กให้กับนักกิจกรรมที่ทำงานขับเคลื่อนประเด็นสังคม
นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนพัฒนาหลักสูตรเนื้อหาและเครื่องมือที่ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้สามารถหยิบไปประยุกต์ใช้และต่อยอดเองได้
หากคุณสนใจอยากรู้ว่า Training of Trainers ของแอมเนสตี้ ในปี 2565 จะมีเนื้อหาอย่างไรบ้าง สามารถเข้าไปอ่านได้ ที่นี่